ธนาคารกรุงศรีพักชำระหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ ปี 2567 ช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ



ธนาคารกรุงศรีพักชำระหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ ปี 2567 ช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ

2024 มาตราการพักชำระหนี้ช่วยเราจริงหรือเปล่า?

มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ระยะที่ 2 (2567)

เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ
โครงการนี้สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั้งทางตรงและทางอ้อมเท่านั้น
ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณามาตรการช่วยเหลือตามผลกระทบที่ลูกค้าได้รับ แล้วแต่กรณี
ไม่เป็นสินเชื่อค้างชำระเกิน 90 วัน ก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2563 ยกเว้น สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อ ขนาดย่อม (SME) สามารถติดต่อธนาคารได้ทุกรายแม้ว่าจะค้างชำระเกิน 90 วันก็ตาม

ลูกค้าบุคคล
(สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อส่วนบุคคล, บัตรเครดิต และ สินเชื่อรถยนต์)

ลูกค้าธุรกิจ (ธุรกิจรายย่อย, SME และ ธุรกิจขนาดใหญ่)

ลูกค้าบุคคล (สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อส่วนบุคคล, บัตรเครดิต และ สินเชื่อรถยนต์)
เลือกมาตรการช่วยเหลือได้เพียง 1 มาตรการเท่านั้น ได้แก่
1.มาตรการพักชำระหนี้
2.มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายย่อยด้วย วิธีการรวมหนี้

1.มาตรการพักชำระหนี้ (สินเชื่อบ้าน,สินเชื่อส่วนบุคคคล)

พักการชำระเงินต้น สูงสุด 3 เดือน
พักการชำระหนี้ เงินผ่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) สูงสุดไม่เกิน 3 เดือน

(สินเชื่อส่วนบุคคล)
ปรับลดจำนวน เงินผ่อนชำระค่างวด อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 30% ของค่างวดเดิม
เปลี่ยนจากวงเงินหมุนเวียน เป็นผ่อนชำระค่างวด สูงสุดไม่เกิน 48 เดือน

เงื่อนไขการเข้าร่วมโปรแกรม
โปรแกรมนี้สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เท่านั้น
ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณามาตรการช่วยเหลือตามผลกระทบที่ลูกค้าได้รับ แล้วแต่กรณี
ไม่เป็นสินเชื่อค้างชำระเกิน 90 วัน ก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2563
หมายเหตุ : เฉพาะสินเชื่อบ้าน และสินเชื่อส่วนบุคคล

การพักชำระหนี้ ไม่มีผลใดๆ ต่อการรายงานข้อมูลการใช้สินเชื่อที่ส่งรายงานให้กับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (ข้อมูลเครดิตบูโร) สำหรับลูกค้าที่ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน

2.มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายย่อยด้วย วิธีการรวมหนี้

1.สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2567
2.เฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาระเศรษฐกิจอันเกิดจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
3.ผู้เข้าร่วมโครงการต้องมีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (เฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรีไฟแนนซ์) อยู่กับธนาคาร และมีสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น อาทิ บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ หรือสินเชื่อที่เกิดจากการให้เช่าซื้อ ซึ่งไม่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) หรือไม่เป็นหนี้ที่ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน

4.สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีอยู่กับธนาคารจะต้องมีการจดทะเบียนจำนองหลักประกันก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2563 และมีสถานะทางบัญชีเป็นบัญชีปกติ

5.ธนาคารจะดำเนินการรวมหนี้ด้วยวิธีการรวมยอดเงินต้นคงค้างของสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นเท่านั้น สำหรับดอกเบี้ยค้างรับของสินเชื่อรายย่อยดังกล่าวจะไม่ถูกนำมารวมหนี้

#พักชำระหนี้2567 #กรุงศรีพักชำระหนี้ #ธนาคารกรุงศรี #พักชำระหนี้ #พักชำระหนี้รอบ2 #พักหนี้

รวมมาตราการพักชำระหนี้ 2567 รอบล่าสุด แต่ละธนาคาร เริ่ม 19/07/2567



รวมมาตราการพักชำระหนี้ 2567 รอบล่าสุด แต่ละธนาคาร เริ่ม 19/07/2567

ล่าสุด กระทรวงการคลัง สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ ออกมาตรการเร่งด่วน พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยให้มีผลตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนก.ค. 64 เป็นต้นไป และเมื่อหมดระยะเวลาพักชำระหนี้แล้ว สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมที่ค้างอยู่ในทันทีเพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักกับลูกหนี้

ใครบ้างที่จะได้รับการพักชำระหนี้ ?

• ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทั่วประเทศ คือ นายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของภาครัฐ

• ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม คือ ลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการได้ แต่รายได้ลดลงเนื่องจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ ซึ่งเงื่อนไขนี้ สถาบันทางการเงินจะพิจารณาช่วยเหลือตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้อีกครั้ง

วิธีขอพักชำระหนี้

ลูกหนี้สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้เพื่อขอรับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฏาคม 2567 เป็นต้นไป หากมีหลักฐานที่ชัดเจนถึงผลกระทบที่ได้รับจากมาตรการของรัฐ จะทำให้การพิจารณาความช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น

ผู้มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าหรือที่สาขาของสถาบันการเงินที่ใช้บริการอยู่ หรือสอบถามได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213

ธนาคารไทยพาณิชย์

เงื่อนไขลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการ

นอกจากได้รับผลกระทบจากคำสั่ง ศบค. ยกระดับมาตรการควบคุม 10 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงสูงสุด ลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการจะต้องค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ณ วันลงทะเบียนแจ้งขอพักชำระหนี้ 2 เดือน

เงินต้นและดอกเบี้ยที่คิดในช่วงพักการชำระหนี้ยังคงคำนวณในอัตราปกติ
การพิจารณาอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์

– ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฏาคม -15 สิงหาคม 2567
ผ่านแอปฯ SCB EASY (เฉพาะลูกค้าบุคคล)
ระบบอัตโนมัติ SCB Call Center โทร. 02-777-7777
ผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ที่ดูแลลูกค้า

ธนาคารกสิกรไทย

เงื่อนไขลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการ
ลูกค้าทั้งที่เป็นนายจ้าง และลูกจ้างในสถานประกอบการที่ต้องปิดกิจการในพื้นที่ควบคุมฯ (10 จังหวัด) รวมถึงลูกหนี้ที่ต้องปิดกิจการที่อยู่นอกพื้นที่ควบคุมฯ เช่น ร้านนวด-สปา ร้านเสริมความงาม ร้านขายของในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
ลูกหนี้ไม่เป็น NPL ณ วันที่ลงทะเบียนมาตรการช่วยเหลือ
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์

ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2567
ลูกค้า SME ติดต่อผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center 02-8888822
ลูกค้ารายย่อย ติดต่อ K-Contact Center 02-8888888
LINE KBank Live คลิก

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

เงื่อนไขลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการ

สมาชิกที่มีบัญชีบัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคลกับกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ซึ่งมีสถานะบัญชีปกติ
เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของภาครัฐ ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 จังหวัด
ทั้งนี้จะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์

ตั้งแต่วันที่ 19กรกฎาคม -18 สิงหาคม 2567

ธนาคารกรุงเทพ

เงื่อนไขลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการ

ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี และลูกค้าสินเชื่อรายย่อย ในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรค
ลูกค้าที่ยังสามารถเปิดดำเนินกิจการ แต่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ที่ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ สามารถปรึกษาธนาคาร โดยธนาคารจะนำเสนอความช่วยเหลือตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ :

ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม -15 สิงหาคม 2567
ผ่านเว็บไซต์ www.bangkokbank.com / หรือ
โมบายแบงก์กิ้ง ธนาคารกรุงเทพ หรือ
สำนักธุรกิจและสาขาธนาคารทั่วประเทศ หรือ
บัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือ 02645 5555

#พักชำระหนี้ #scbพักชำระหนี้ #kbankพักชำระหนี้ #กรุงเทพพักชำระหนี้ #กรุงศรีพักชำระหนี้

สรุปมาตราการช่วยเหลือลูกหนี้จากธนาคารกสิกรไทย 2567 | ลดดอกเบี้ย พักชำระหนี้



สรุปมาตราการช่วยเหลือลูกหนี้จากธนาคารกสิกรไทย 2567 | ลดดอกเบี้ย พักชำระหนี้

2024 มาตราการพักชำระหนี้ช่วยเราจริงหรือเปล่า?

มาตราการช่วยเหลือจากธนาคารกสิกรไทย ต้นปี 2567
มาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย ภายใต้โครงการ #รวมใจไม่ทิ้งกัน

ประเภทที่ 1 มาตรการช่วยเหลือที่ไม่ต้องลงทะเบียน
ประเภทที่ 2 มาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียน

ประเภทที่ 1 มาตรการช่วยเหลือที่ไม่ต้องลงทะเบียน

ลดอัตราดอกเบี้ยให้อัตโนมัติ โดยไม่ต้องติดต่อธนาคาร มีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563

1.บัตรเครดิตกสิกรไทย จาก 18% เป็น 16%
2.บัตรเงินด่วน Xpress Cash จาก 28% เป็น 25%
3.สินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan จาก 28% เป็น 25% (*มีผลเฉพาะสินเชื่อที่อนุมัติ ตั้งแต่ 1 ส.ค. 2563 เป็นต้นไป)
4.สินเชื่อรถ (K Leasing) จาก 28% เป็น 24%* *มีผลเฉพาะสินเชื่อที่อนุมัติ ตั้งแต่ 1 ส.ค. 2563 เป็นต้นไป

ประเภทที่ 2 มาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียน

คุณสมบัติของลูกค้าที่สามารถเข้าร่วม
1.ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์ COVID-19 เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน หรือธุรกิจที่ปิดบริการชั่วคราวตามประกาศทางราชการ
2.ลูกค้าต้องไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนดชำระ (NPL) ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563
3.ลูกค้าที่ได้รับการอนุมัติก่อน วันที่ 1 มกราคม 2567 หมายเหตุ : สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้าน ต้องเป็นลูกค้าที่จดทะเบียนจำนองหลักประกัน ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567

หลักเกณฑ์ทั่วไป
การเข้ามาตรการไม่ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ และไม่คิดค่าปรับการชำระหนี้ก่อนกำหนด หากลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ได้ให้เข้ามาปรึกษาธนาคารเพื่อเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคาร

สินเชื่อบ้าน ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยการรวมหนี้ประเภทต่าง ๆ ที่ธนาคารกำหนด เพื่อแบ่งเบาภาระในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยที่ลูกค้ายังสามารถใช้วงเงินบัตรที่เหลือได้ และจะไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิตกับธนาคาร ทั้งนี้ ลูกค้าต้องใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันในการเข้าร่วม ระยะเวลาการขอเข้าร่วมมาตรการ ตั้งแต่ วันนี้ – 31 ธันวาคม 2567

ข้อดีสำหรับการเข้าร่วมมาตราการ
1.ลดยอดผ่อนชำระรายเดือน
2.ลดดอกเบี้ยที่ต้องชำระ
3.ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต

ข้อควรพิจารณาในการเข้าร่วมมาตรการ
-ต้องมีการจำนองหลักประกันที่เป็นประกันหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเดิม
-มีค่าใช้จ่ายในการจดจำนองและค่าอากรแสตมป์
-ต้องปิดบัตร หรือวงเงินสินเชื่อเดิม หรือถูกลดวงเงินบัตรเดิมลง
-มีประวัติปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคาร กรณีไม่สามารถชำระหนี้วงเงินสินเชื่อใหม่จากการรวมหนี้ได้ อาจถูกดำเนินการทางกฎหมายกับหลักประกันที่อยู่อาศัย
-ระยะเวลาในการผ่อนชำระยาวขึ้น

สินเชื่อบ้านที่สามารถเข้าโ๕รงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้

วันที่ 1/03/2563 ต้องไม่เป็นหนี้ NPL รือไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน

อัตราดอกเบี้ยที่ปรับใหม่จะคิดยังไง
สำหรับวงเงินที่เกิดจากการรวมหนี้ ดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน MRR ของธนาคาร (ปัจจุบัน ณ วันที่ 26 ก.ย. 2563 MRR = 5.97%) หากลูกค้ามีการผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยตามประกาศ สำหรับสินเชื่อบ้านเดิม จะคงอัตราดอกเบี้ยเดิมตามเงื่อนไขในสัญญาที่ลูกค้าได้รับ ไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยในส่วนของสินเชื่อบ้าน’

หลังจากปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว

งวดที่ 1-12 ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ย พักชำระเงินต้น
หลังจากงวดที่ 12 ผ่อนชำระรายเดือนเท่ากันทุกงวด (เงินต้น + ดอกเบี้ย)
อัตราดอกเบี้ยคิด MRR ต่อปี MRR = 5.97%
ระยะเวลาผ่อนสูงสุด 84 งวด

ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายหลัก ค่าจดทะเบียนจำนอง (สำนักงานที่ดินเรียกเก็บ) ร้อยละ 1 ของวงเงินทั้งหมดที่เข้ามาตรการรวมหนี้ส่วนที่รวมเข้ามาใหม่เท่านั้น ไม่นับรวมหนี้สินเชื่อบ้านเดิมที่ได้มีการจดจำนองไปแล้ว

ลงทะเบียน
สามารถลงทะเบียนได้ โดยพิมพ์ @Help ผ่าน Line KBank Live โดยลูกค้าสามารถเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่ 1 ก.ย. 63 – 31 ธ.ค. 64

#กสิกร #กสิกรพักชำระหนี้ #หนี้บ้านกสิกร #KBANK

ธอส พักชำระหนี้ต่ออีก 3 เดือนถึง ตค64 พักจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ใครมีสิทธิบ้าง?



ธอส พักชำระหนี้ต่ออีก 3 เดือนถึง ตค64 พักจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ใครมีสิทธิบ้าง?

ธอส. ประกาศ 2 มาตรการเร่งด่วน พักชำระหนี้เงินต้นและพักชำระดอกเบี้ยนาน 3 เดือน ช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จากการประกอบอาชีพ / ธุรกิจ / การค้า เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19
– M15 สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ
– M16 สำหรับลูกค้าที่มีสถานะ NPL หรือลูกหนี้ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้าง
หนี้ พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ย
ระยะเวลาให้ความช่วยเหลือ 3 เดือน (ส.ค. – ต.ค. 64)
ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. 64 เวลา 9.00 น. ถึง – 29 ส.ค. 64 เวลา 20.00 น.

ช่องทางการลงทะเบียนเข้ามาตรการ
1.Mobile Application GHB ALL
2.เว็บไซต์ธนาคาร
3.Line GHB Buddy :

ข้อมูล ณ วันที่ 16 ก.ค. 64
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ขานรับนโยบายกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ออก 2 มาตรการเร่งด่วน ช่วยลูกค้าที่ยังคงได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 เป็นระยะเวลานาน 3 เดือน ตั้งแต่สิงหาคม-ตุลาคม 2567 ประกอบด้วย มาตรการที่ 15 พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ย สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และ มาตรการที่ 16 พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ย สำหรับลูกหนี้ที่มีสถานะ NPL (ค้างชำระเงินงวดติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน) หรืออยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ลงทะเบียนผ่าน Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line ได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 29 สิงหาคม 2567

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีนโยบายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ให้จัดทำมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs และลูกหนี้รายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ธอส. จึงได้จัดทำ 2 มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ลูกค้าทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ ผ่าน “โครงการ ธอส. รวมไทยสร้างชาติ ปี 2567” ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางด้านรายได้จากการประกอบอาชีพ/ธุรกิจ/การค้า จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และยังไม่สามารถผ่อนชำระเงินงวดได้ ซึ่งมีรายละเอียดความช่วยเหลือ ประกอบด้วย

มาตรการที่ 15 [M 15] : พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2567 สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้หรือสถานะกฎหมาย

มาตรการที่ 16 [M 16] : พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2567 สำหรับลูกหนี้ที่มีสถานะ NPL (ค้างชำระเงินงวดติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน ) หรืออยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้

สำหรับดอกเบี้ยที่พักชำระเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในระหว่างการใช้มาตรการที่ 15 และ 16 ลูกค้าสามารถทยอยชำระให้เสร็จสิ้นก่อนวันครบกำหนดสัญญากู้เงิน หรือ ปิดบัญชี โดย ธอส. จะเปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนแจ้ง ความประสงค์เข้ามาตรการผ่าน Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 เวลา 9.00 น. – วันที่ 29 สิงหาคม 2567 เวลา 20.00 น. และจะต้อง Upload หลักฐานยืนยันการได้รับผลกระทบทางรายได้ผ่านทาง Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy ให้ธนาคารพิจารณา เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ภาพถ่าย หรือ Statement เป็นต้น ส่วนกรณีที่ลูกค้าไม่มีสมาร์ทโฟนสามารถกรอกข้อมูลเพื่อแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือตามมาตรการได้ที่ www.ghbank.co.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดตามข้อมูลข่าวสารของธนาคารได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th, Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ Application : GHB ALL

ฝ่ายสื่อสารองค์กร
15 กรกฎาคม 2567

#ธอสพักชำระหนี้ #มาตราการช่วยเหลือธอส #ธอสพักหนี้ #ธอสลดเงินผ่อน #พักชำระหนี้ธอส2567
#โครงการธอสรวมไทยร่วมสร้างชาติ #ธอส #ธนาคารบ้านของคนไทย #ทำให้คนไทยมีบ้าน

ธนาคารกรุงไทยพักชำระหนี้ 2567 ช่วยเหลือลูกค้าต่ออีก 3 เดือน เข้าร่วมโครงการก่อน 30/06/2567



ธนาคารกรุงไทยพักชำระหนี้ 2567 ช่วยเหลือลูกค้าต่ออีก 3 เดือน เข้าร่วมโครงการก่อน 30/06/2567

พักชำระหนี้คืออะไร

สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน

มาตรการความช่วยเหลือระยะที่ 2 ตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2567
ได้แก่ สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อ Home for Cash, สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน
พักชำระเงินต้น (ชำระเฉพาะดอกเบี้ย) นาน 3 เดือน หรือ ลดค่างวด โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมมาตรการฯ ระยะที่ 2

– ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด 19 เช่น ธุรกิจสายการบิน, ธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจที่ปิดกิจการชั่วคราวตามประกาศทางราชการ เป็นต้น

– ลูกค้าที่มีสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร

– ลูกค้าที่มีประวัติการชำระปกติ ก่อนวันที่ 1 มี.ค. 63

– การพิจารณาเข้าร่วมมาตรการฯ อยู่ในดุลพินิจของธนาคาร กรณีที่ลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ กรุณาติดต่อธนาคาร เพื่อรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป

เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียน
– สำเนาบัตรประชาชนของผู้กู้
– เอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อ-สกุล ผู้กู้ (ถ้ามี)
– เอกสารแสดงรายได้ก่อนได้รับผลกระทบ
– เอกสารแสดงรายได้หลังได้รับผลกระทบ
– เอกสารแสดงความสัมพันธ์ของผู้ได้รับผลกระทบและผู้กู้* (ถ้ามี)

*หากเป็นบิดา มารดา บุตร แสดงเป็นสำเนาทะเบียนบ้าน หรือ เป็นคู่สมรสแสดงสำเนาทะเบียนสมรส เป็นต้น
ช่องทางลงทะเบียน
– ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ krungthai.com
– กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และอัปโหลดเอกสาร
– รอเจ้าหน้าตรวจสอบผลลงทะเบียนเข้ารับมาตรการช่วยเหลือฯ ระยะที่ 2 โดยสามารถตรวจสอบผลการลงทะเบียนได้ที่นี่

ที่นี่มาอีกเรื่องที่สำคัญเหมือนกันครับนั่นก็คือ ถ้าเกิดวันนี้เรามีกำลังพอที่จะส่งธนาคารต่อไหวเราควรจะเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ด้วยไหม
ถ้าถามผมนะครับ ถ้าเป็นผมผมจะกลับมาดูความพร้อมของเราก่อนครับความพร้อมของเราคือวันนี้เรามีเงินสำรองเพียงพอหรือยังถ้าเงินสำรองเรามีเพียงพอแล้วผมแนะนำอย่างมากเลยนะครับให้คุณส่งธนาคารตามปกติครับ ตัวอย่างที่ผมบอกครับถ้าวันนี้คุณมีกำลังในการส่งนะการพักชำระหนี้ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลยครับเพราะสุดท้ายแล้วดอกเบี้ยก็ยังคงเก็บไปทบอยู่ดีการที่คุณรีบผ่อนให้มันจบอ่ะครับมันจะทำให้นี่มันหมดเร็วขึ้นดอกเบี้ยที่คุณต้องจ่ายตลอดอายุสัญญามันก็จะลดลงด้วยครับ

แต่ถ้าสมมุติว่าวันนี้คุณยังผ่อนค่าบ้านไหวแต่เงินสำรองของคุณเนี่ยยังมีไม่เยอะมากพอคุณอาจจะเลือกพักชำระหนี้สัก 3 เดือนก่อนก็ได้เพื่อที่จะเอาเงินที่คุณต้องผ่อนบ้างนะครับมาเก็บสะสมเป็นเงินสำรองนะครับเผื่อฉุกเฉินในอนาคตอันนี้ก็แล้วแต่การพิจารณาแต่ละคนนะครับแต่ถ้าจะสรุปสั้นๆนะถ้าเกิดว่าวันนี้คุณยังสภาพคล่องดีมีเงินสำรองถ้าคุณผ่อนไหว ผมแนะนำให้คุณผ่อนปกติครับหรือถ้าจะดีกว่านั้นคือคุณโปรดชำระเพิ่มต่อเดือนไปด้วยก็จะดีมากๆเลยนะเพราะจะทำให้นี่คุณหมดเร็วขึ้นครับ

ตรงนี้ผมขอถามนิดนึงนะครับผมเคยได้ทำคลิปนะครับเกี่ยวกับเทคนิคการผ่อนบ้านผ่อนบ้านยังไงให้หนี้มันหมดเร็วขึ้นนะครับถ้าเกิดว่าใครยังไม่ได้ดูนะครับผมแนะนำว่าให้ไปดูใน YouTube Channel ก่อนครับ

เทคนิคผ่อนบ้าน ให้หนี้หมดเร็วขึ้น 10 ปี ประหยัดดอกเบี้ยเป็นล้าน!!

#พักชำระหนี้2567 #กรุงไทยพักชำระหนี้ #พักชำระหนี้ #พักชำระหนี้รอบ2 #พักหนี้

สรุปมาตราการพักชำระหนี้บ้านและลดดอกเบี้ยปี 2567 จากธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)



สรุปมาตราการพักชำระหนี้บ้านและลดดอกเบี้ยปี 2567 จากธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

2024 มาตราการพักชำระหนี้ช่วยเราจริงหรือเปล่า?

ไทยพาณิชย์ออกมาตรการช่วยเหลือระยะ 3 ช่วยลูกค้าจากผลกระทบโควิด-19 ระลอกใหม่

ตามที่สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งส่งผลต่อสภาพคล่องแก่ลูกค้าธุรกิจและลูกค้ารายย่อยของธนาคาร ธนาคารไทยพาณิชย์จึงได้ขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือระยะ 3 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจให้กับลูกค้าจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 โดยมีมาตรการดังนี้

มาตรการลดดอกเบี้ยสูงสุด มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563
บัตรเครดิตไทยพาณิชย์ ทุกประเภท ลดดอกเบี้ยจาก 18% เป็น 16%
สินเชื่อหมุนเวียน Speedy Cash และสินเชื่อบุคคล Speedy Loan ลดดอกเบี้ยจาก 28% เป็น 25%

มาตรการเพิ่มเติมสำหรับสินเชื่อแต่ละประเภท

บัตรเครดิตไทยพาณิชย์ ทุกประเภท
ลูกค้าสามารถผ่อนเงินต้นค้างชำระ ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี นาน 48 เดือน (ยกเว้นบัตร JCB และรายการใช้จ่ายที่ขอใช้บริการดีจังแบ่งชำระรายเดือน)

สินเชื่อหมุนเวียน Speedy Cash
ลูกค้าสามารถผ่อนเงินต้นค้างชำระ ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 22% นาน 48 เดือน (ยกเว้นรายการใช้จ่ายที่ขอใช้บริการดีจังแบ่งชำระรายเดือน)

สินเชื่อบุคคล Speedy Loan
ลูกค้าสามารถปรับลดอัตราผ่อน 30% ของอัตราผ่อนเดิม ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี

สินเชื่อรถยนต์
ลูกค้าสามารถพักชำระค่างวด 3 เดือน หรือ ปรับลดอัตราผ่อน และขยายระยะเวลาผ่อน

สินเชื่อบ้าน
ลูกค้าสามารถพักชำระค่างวด 3 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตามความเหมาะสม หรือ ปรับลดอัตราผ่อน และขยายระยะเวลาผ่อน

สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย (ยอดขายไม่เกิน 75 ล้านบาทต่อปี)
ลูกค้าสามารถพักชำระค่างวดสูงสุด 3 เดือน หรือ ปรับลดอัตราผ่อน และขยายระยะเวลาผ่อน
เงื่อนไข
1.ระยะเวลาผ่อนผันการชำระหนี้ ดอกเบี้ยยังคงคำนวณตามเงินต้นที่คงเหลืออยู่
2. เกณฑ์การอนุมัติเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนดธนาคารจะพิจารณาจากความจำเป็น และความเหมาะสมจากธนาคารอีกที

ลูกค้าที่เข้าร่วมนะวันที่ 1 มีนาคมปี 2563 จะต้องไม่เป็นหนี้ npl หรือค้างชำระ เงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน

#SCBพักชำระหนี้ #ไทยพาณิชย์พักชำระหนี้ #SCBพักหนี้ #ไทยพาณิชย์ #พักชำระหนี้

2024 มาตราการพักชำระหนี้ช่วยเราจริงหรือเปล่า?



2024 ควรพักชำระหนี้ดีไหม ตกลงพักชำระหนี้แล้วช่วยเราจริงหรือเปล่า

ออมสินพักชำระหนี้ 2567

กรุงไทยนพักชำระหนี้ 2567

เรื่องแรกที่เราต้องทราบก่อนนะครับคือ

เงินที่เราส่งนี่บ้านนะครับเขาจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆครับ นั่นคือส่วนค่างวด =เงินต้น + ดอกเบี้ย
ผมยกตัวอย่างง่ายๆครับสมมุติเราผ่อน ธนาคารเดือนละ 10,000 บาท เป็น เงินต้น 5,000 ดอกเบี้ยอีก 5,000 บาทในทุกๆเดือนนะครับ

ดังนั้นมาตรการพักชำระหนี้เนี่ยเขาอาจจะให้เราเลือก 3 แบบหลักๆด้วยกันครับคือ
พักจ่ายเงินต้น
พักจ่ายเงินต้น และ จ่ายดอกเบี้ยบางส่วน
พักจ่ายเงินต้น และ ดอกเบี้ย

1 พักจ่ายเงินต้น
นั่นก็ความหมายตรงตัวครับคือ เงินต้นอะพักไว้ก่อน จ่ายแค่ดอกเบี้ยในแต่ละเดือน จากที่ต้องส่งเดือนละ 10,000 ก็เหลือ เดือนละ 5,000 คับ

2.พักจ่ายเงินต้น และ จ่ายดอกเบี้ยบางส่วน
อันนี้คล้ายๆอันแรกครับแต่จะมีการเพิ่มเงินค่าดอกเบี้ยในแต่ละเดือนเพิ่มมาครับ เช่นตามตัวอย่างที่ผมให้ไปนะคือ
จากที่ส่งเดือนละหมื่น ก็พักต้นไป 5,000 และ ลดการจ่ายดอกเบี้ยไปบางส่วนอาจจะครึ่งนึงของดอกเบี้ยที่เราต้องส่งแต่ละเดือนนั่นคือ 2.500 บาท
ดังนั้นในเคสนี้เราจะเหลือยอดชพระธนาคารเดือนละ 2,500 บาทครับ

3.พักจ่ายเงินต้น และ ดอกเบี้ย
อันที่ 3 นี้คือการพักชำระทั้งหมดไปเลยครับไม่ต้องจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งจะทำให้ยอดชำระต่อเดือนของเรากลายเป็นศูนย์ครับ แต่ต้องบอกว่าในปี 2567 นี้นะครับยังไม่มีธนาคารไหนที่มีมาตรการที่จะพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนะครับตอนนี้ก็ยังเป็น การพักชำระเงินต้น หรือ จ่ายดอกเบี้ยบางส่วนครีบ

มีเรื่องนึงนะครับที่เพื่อนๆจะต้องทราบไว้นะครับถึงเราจะเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ในแบบที่ 3 คือพักจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยไม่ต้องมีการจ่ายธนาคารเลยแต่ละเดือนเนี่ยแต่ดอกเบี้ยในงวดที่เราพักชําระหนี้ จะยังคงเดินตามปรกตินะครับ ผมเคยพูดเรื่องนี้ไว้แล้วหละครับแต่ผมต้องขอย้ำอีกครั้งเผื่อเพื่อนๆคนไหนยังไม่ทราบกัน

ซึ่งดอกเบี้ยถ้าเอาตามโจทย์ที่ผมบอกนะครับในกรณีที่เราพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือนเนี่ยดอกเบี้ยแต่ละเดือนคือเราจ่ายเดือนละ 5000 บาทต่อเดือนใช่ไหมครับเราพักชำระหนี้ 3 เดือนหมายความว่าดอกเบี้ยจะโดนทบไป 3 เดือน 5000 x 3 = 15,000 บาท ดอกเบี้ยส่วนนี้ไม่ได้หายไปไหนนะครับธนาคารไม่ได้ยกเว้นให้เขาจะเอาไปเรียกเก็บกับเราในอนาคตครับซึ่งตรงนี้ก็แล้วแต่ธนาคารนะครับว่าเขาจะเอาไปคิดในงวดไหนบางธนาคารเอาไปถั่วเฉลี่ยกับงวดที่เหลือหรือบางธนาคารเอาไว้จ่ายงวดสุดท้ายสุดก่อนปิดสัญญาเลยก็มีครับแต่สิ่งที่ต้องให้ทุกคนระลึกไว้นะครับว่าดอกเบี้ยตอนที่คุณพักชำระหนี้ไม่ได้หายไปไหนนะครับ

ดังนั้นผมเชื่อว่าหลายๆคนคงคิดว่าไอ้การที่เราพักจ่ายเงินต้นและจ่ายแต่ดอก หรือแม้กระทั่งว่าไม่ต้องจ่ายแล้วแต่ยังคิดดอกเบี้ยอยู่เนี่ยมันเป็นการช่วยเราตรงไหน สุดท้ายธนาคารก็ยังเอาเปรียบเราอยู่หรือเปล่า

อันนี้ครับถ้าผมเข้าใจไม่ผิดนะครับสิ่งที่ธนาคารเขาออกมาตรการพักชำระหนี้ต่างๆให้กับลูกค้าเนี่ยจุดประสงค์หลักของเขาคือเขาจะเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกค้าครับคือแทนที่เราจะเอาเงินมาจ่ายค่าบ้านใช่ไหมครับเพื่อนทั้งก้อนมาจ่ายเป็นค่าบ้านเนี่ยเขาก็ให้เราเอาเงินก้อนนี้เอาไปใช้กินอยู่ใช้จ่ายอย่างอื่นก่อนหรือถ้าวันนี้เรายังไม่มีเงินจ่ายครับเราก็สามารถจะพักชำระหนี้กับเขาไปก่อนได้ดังนั้นมันไม่ใช่เป็นการยกหนี้ให้ครับมันเป็นการพักไว้ก่อนเฉยๆ

ซึ่งสมมติว่าถ้าผมจะพูดในมุมธนาคารนะครับวันที่เราไปขอสินเชื่อธนาคารนะฮะผมย้ำอีกทีนะครับว่าไม่มีใครบังคับให้เราไปเซ็นสัญญาเงินกู้ก้อนนั้นนะครับ เราเป็นคนที่เดินเข้าไปขอสินเชื่อ ขอกู้บ้านด้วยตัวเอง และที่สำคัญครับในสัญญาเงินกู้ที่เราไปเซ็นเอกสารนะครับตอนที่เราไปขอสินเชื่อผมเชื่อว่ามันไม่มีข้อไหนบอกไว้เลยนะครับว่าธนาคารจะต้องช่วยเหลือลูกค้า ถ้าเกิดว่าเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเหมือนกับช่วงเวลานี้ และที่สำคัญครับเราก็ไปเซ็นยินยอมยอมรับแล้วก็เอาเงินกู้ก้อนนั้นมาไงครับ

ดังนั้นถ้าพูดกันแบบเอาความจริงมาพูดกันครับวันนี้ธนาคารเขาจะไม่ออกมาช่วยเหลือหรือมาออกมาตรการอะไรเลยเขาก็ไม่ได้ทำผิดกฎหมายนะครับเพียงแต่ว่ามันก็อาจจะดูใจร้ายไปซักนิดนึงอะไรแบบนี้ และที่สำคัญครับในวิกฤตแบบนี้ครับผมเชื่อนะว่าทุกคนเหนื่อยกันหมดครับไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ วันนี้เราเป็นคนทั่วๆไปเราอาจจะมีครอบครัวที่อยู่ข้างหลังเราเลี้ยงดูสัก 4-5 คนหรือมากกว่านั้น แต่สำหรับองค์กรใหญ่ๆครับเขามีพนักงานเขามีค่าเช่าออฟฟิศเขามีค่าใช้จ่ายอีกหลายส่วนมากๆที่เขาจะต้องประคับประคองแล้วไปให้รอดครับ ดังนั้นการที่ผมมาพูดอย่างนี้ครับย้ำอีกทีนะว่าผมไม่ได้มาปกป้องเขาแต่ผมอยากจะพูดให้ทุกคนเห็นเห็นใจทางฝั่งธนาคารเขาด้วยนะครับ

ตรงนี้ผมขอถามนิดนึงนะครับผมเคยได้ทำคลิปนะครับเกี่ยวกับเทคนิคการผ่อนบ้านผ่อนบ้านยังไงให้หนี้มันหมดเร็วขึ้นนะครับถ้าเกิดว่าใครยังไม่ได้ดูนะครับผมแนะนำว่าให้ไปดูใน YouTube Channel ก่อนครับ

เทคนิคผ่อนบ้าน ให้หนี้หมดเร็วขึ้น 10 ปี ประหยัดดอกเบี้ยเป็นล้าน!!

#พักชำระหนี้ #พักชำระหนี้2567 #พักหนี้ #มาตราการพักชำระหนี้

พักชำระหนี้ต่ออีก 2 เดือน(พักเงินต้น+ดอกเบี้ย) ทุกธนาคาร เริ่มลงทะเบียน 19/07/2567



จากประกาศจากธนาคารแห่งประเทศไทย เดือน กรกฎาคม 2567

– พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป
– สำหรับลูกหนี้ SMEs และ ลูกหนี้รายย่อย (ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้าง)
– เมื่อหมดระยะพักหนี้ สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ในทันที

อ่านรายละเอียดมาตรการ คลิก ➡

ช่องทางติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินโดยตรง ที่
หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) 📞 โทร. 1213

จากการที่ภาครัฐได้ยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 จังหวัด เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยจำกัดการเคลื่อนย้ายและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้มีผู้ได้รับผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะกับกลุ่มธุรกิจและลูกหนี้ที่มีฐานะการเงินเปราะบางมาตั้งแต่การระบาดของโควิด 19 ระลอกก่อน และได้ออกมาตรการช่วยเหลือเพื่อเยียวยาด้านรายได้อย่างเร่งด่วนให้กับผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือที่ตรงจุด

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ ตระหนักถึงความเดือดร้อนของลูกหนี้และเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินเพิ่มเติมให้แก่ลูกจ้างและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ จึงเห็นร่วมกันที่จะออกมาตรการเร่งด่วนด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เป็นระยะเวลา 2 เดือนให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ลูกหนี้ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เมื่อหมดระยะเวลาพักชำระหนี้แล้ว สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ในทันที เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักกับลูกหนี้

สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม คือ ลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการได้ แต่รายได้ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ สถาบันการเงินจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้

การให้ความช่วยเหลือตามแนวทางข้างต้น ลูกหนี้สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้เพื่อแสดงความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ทั้งนี้ หากลูกหนี้สามารถให้ข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจนถึงผลกระทบของกิจการหรือการจ้างงาน จะทำให้การพิจารณาให้ความช่วยเหลือโดยเจ้าหนี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยภายใต้มาตรการนี้ เป็นเพียงการเลื่อนการชำระออกไป ลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพและสามารถชำระหนี้ได้ จึงควรชำระหนี้ต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ภาระหนี้ในอนาคตเพิ่มขึ้นสูงเกินจำเป็น เช่นเดียวกับลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินอยู่ก่อนหน้า ที่ควรดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและยั่งยืนกว่า

อนึ่ง การพักชำระหนี้ภายใต้มาตรการนี้ เป็นการให้ความช่วยเหลือขั้นต่ำ สถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงได้มากขึ้นตามความเหมาะสม

ธปท. และทุกสมาคมฯ รวมถึงสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จะร่วมกันเร่งรัดและผลักดันการให้ความช่วยเหลือจากมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง ธปท. ได้ขอให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (nonbank) ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ไปพร้อมกัน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบให้ได้มากที่สุด ดังนั้น ขอให้ลูกหนี้ที่ประสบปัญหารีบติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินที่ใช้บริการอยู่เพื่อรับความช่วยเหลือ และหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินโดยตรง หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร 1213

#พักชำระหนี้ #พักชำระหนี้2567 #พักหนี้ #มาตราการพักชำระหนี้

แบงค์ชาติช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 ช่วยหนี้บ้าน หนี้รถ บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล



ธปท ออกมาตราการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3
ช่วยหนี้บ้าน รถ บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ยังมีความไม่แน่นอนสูง การระบาดระลอกใหม่ยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบต่อภาคธุรกิจบริการ โรงแรม ร้านอาหาร รถบริการรับส่งคน ซึ่งมีพนักงานและลูกจ้างได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ทำให้รายได้หายไปหรือลดลง และมีสัญญาณว่าลูกหนี้รายย่อยมีความยากลำบากในการชำระหนี้มากขึ้น โดยการประเมินของสถาบันการเงินพบว่าลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการเดิมยังคงต้องการความช่วยเหลือต่อเนื่องและมีลูกหนี้ใหม่ที่ต้องการรับความช่วยเหลือในครั้งนี้ ซึ่งเป็นความเปราะบางที่สะสมมาตั้งแต่การระบาดของโควิด 19 ในระลอกแรก จำเป็นจะต้องช่วยเหลือในเรื่องภาระหนี้ที่มีอยู่กับสถาบันการเงิน

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ธปท. จึงได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการทางการเงิน ผ่านสมาคมและชมรมต่าง ๆ รวม 8 แห่ง1 ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ โดยยกระดับมาตรการเดิมให้ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น ซึ่งมุ่งเน้นช่วยลดภาระหนี้ในระยะยาว มีทางเลือก มีความยืดหยุ่น และมีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อนได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะครอบคลุมสินเชื่อ 4 ประเภท ดังนี้

1. บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล (Revolving & Installment Loan) : เน้นการบรรเทาภาระหนี้โดยขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้ยาวขึ้น และจ่ายอัตราดอกเบี้ยลดลง

2. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ : เพิ่มทางเลือกการพักชำระค่างวด และสำหรับลูกหนี้จำนำทะเบียนรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ให้มีทางเลือกในการคืนรถ โดยหากมีภาระหนี้คงเหลือจากการขายประมูล ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถช่วยลดภาระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานะของลูกหนี้

3. เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ : กำหนดแนวทางในการควบคุมอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา (Effective Interest Rate: EIR) ไม่ให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยเดิม และปรับวิธีการคิดดอกเบี้ยช่วงที่พักบนค่างวดที่พักชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ให้มีทางเลือกในการคืนรถ โดยหากมีภาระหนี้คงเหลือจากการขายประมูล ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถช่วยลดภาระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานะของลูกหนี้

4. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน : เพิ่มทางเลือกด้วยการพักเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน และให้ลูกหนี้สามารถทยอยชำระคืนเป็นขั้นบันได (step up) ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้

ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบสามารถแจ้งความประสงค์รับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม – 31 ธันวาคม 2567 ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของผู้ให้บริการทางการเงิน โดย ธปท. ขอให้ผู้ให้บริการทางการเงินให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสถานะของลูกหนี้ตามมาตรการที่กำหนด รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมตามนโยบายของผู้ให้บริการทางการเงิน

#ธนาคารแห่งประเทศไทย #แบ๊งชาติ #มาตราการช่วยเหลือ

พักชำระหนี้ 2 เดือน! รัฐบาล แจงรายละเอียด เร่งช่วยลูกหนี้ 'เปราะบาง' ทั่วประเทศ



#ชำระหนี้ #พักชำระหนี้ #ช่วยลูกหนี้
ขอขอบคุณที่มาจาก khaosod.co.th
***อย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งแจ้งเตือนเพื่อรับชมคลิปข่าวใหม่ๆทุกวันจ้า***
***รวมคลิป#ข่าวเด่นหวยดัง คลิปข่าวสั้นประเทศไทย อัพเดตราคาทองคำประจำวัน ข่าวเด่นโซเชี่ยล ข่าวสวัสดิการของรัฐ ข่าวสารการเงิน ทันเหตุการณ์โดยทีมงาน ข่าวเด่นหวยดัง และพิเศษทุกวันที่ 1 และ 16 ช่วงเช้าจะนำข่าวสารการเสี่ยงโชครับรองว่าเด็ดทุกสำนักจ้า ***