เลือกธนาคารให้ดี ก่อนกู้บ้าน #shorts



เลือกธนาคารให้ดี ก่อนกู้บ้าน #shorts

How to ซื้อบ้านหลังแรก EP9: ซื้อบ้านหลังแรกกู้ธนาคารไหนดี ธนาคารไหนดอกเบี้ยดีสุด | Guru Living

มาถึงอีก 1 หัวข้อที่เป็นคำถามยอดฮิตเป็นหัวข้อยอดนิยมที่ผมได้รับคำถามมาเป็นจำนวนมากสำหรับคนที่กำลังมองหาบ้านนะครับว่า ซื้อบ้านเลือกธนาคารไหนดี , ดอกเบี้ยบ้านธนาคารไหนดีสุด , เลือกธนาคารยังไง , กู้บ้านแบงค์ไหนดี

ซึ่งจริงๆคำตอบของคำถามนี้ถ้าตอบไป ก็จะเป็นคำตอบที่ง่ายๆครับนั่นก็คือดูที่ อัตราดอกเบี้ย ครับ เกณฑ์สำคัญในการพิจารณาว่าเราจะเลือกกู้กับธนาคารไหนเนี่ยเราจะต้องพิจารณาจากดอกเบี้ยเป็นหลักแน่นอนอยู่แล้วครับถ้าเราเป็นพนักงานประจำนะครับที่มี statement ดีสถานะทางการเงินดีมีสลิปเงินเดือนเนี่ยผมไม่ค่อยห่วงครับเลือกที่อัตราดอกเบี้ยได้เลยธนาคารไหนให้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าเราเข้าไปที่ธนาคารนั้นครับ

ซึ่งจริงๆแล้วการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยเนี่ยเราอาจจะไม่ต้องไปพิจารณาทั้งอายุสัญญาหรือทั้งสามสิบปีนะครับการพิจารณาขั้นต้นเนี่ยผมอยากให้เราพิจารณาจากแค่ 3 ปีแรกก็เพียงพอแล้ว นั่นก็เป็นเพราะว่าโดยส่วนมากเวลาเราซื้อบ้านด้วยการกู้ธนาคารนะครับเราจะผ่อนธนาคาร 3 ปีแล้วหลังจากปีที่ 3 เราจะต้องไปรีไฟแนนซ์หรือ retention ตัวนี่อยู่แล้วดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปใช้ดอกเบี้ยทั้งอายุสัญญาในการพิจารณาเลือกธนาคารครับ

สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจและยังสงสัยว่าการรีไฟแนนซ์คืออะไรทำไมต้อง refinance , refinance ช่วยอะไรได้บ้างผมได้ทำคลิปอธิบายการรีไฟแนนซ์ไว้อย่างละเอียดแล้วนะครับสามารถเข้าไปรับชมกันได้

รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไรมีประโยชน์อะไรกับคนที่กำลังผ่อนบ้านอยู่ สรุปจบในคลิปเดียว | Guru Living

แต่ถ้าเรามองในมุมถ้าเราเป็นผู้ประกอบการเราไปยื่นขอกู้เนี่ยมันอาจจะมีกระบวนการที่ยุ่งยากสักหน่อยนะครับตรงนี้เนี่ยเราอาจจะต้องเดินสเตทเม้นท์ทำบัญชีของเราให้ดีมีการยื่นภาษีที่ถูกต้อง และการเลือกธนาคารเนี่ยก็อาจจะต้องไปบางธนาคารที่เขารองรับลูกค้าประเภทเจ้าของธุรกิจเป็นพิเศษครับ

ดังนั้นถ้าสอบให้ง่ายต่อการเลือกธนาคารเลือกธนาคารไหนดีเลือกธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยถูกครับและจะดูได้ยังไงว่าอัตราดอกเบี้ยถูกลองเปิด Google ดูนะเวลานั้นหรือเข้าไปถามธนาคารต่างๆเพื่อที่เอาดอกเบี้ยมาพิจารณากันได้เลยครับจริงๆมีอีกเรื่องนึงนะครับที่ผมอยากให้ทุกคนพึงจำไว้เลยนะว่าการที่เราไปยื่นกู้ขอสินเชื่อนะเนี่ยเราควรจะไปดูดอกเบี้ยมากกว่า 1 ธนาคารนะครับเราไม่ควรไปธนาคารใดธนาคารหนึ่งแล้วรีบเลือกรีบตัดสินใจเลยนะครับเราควรที่จะเอาดอกเบี้ยเอาข้อเสนอต่างๆของทางธนาคารหรือทางสาขาเนี่ยมาเปรียบเทียบเพื่อพิจารณากันก่อนว่าตกลงธนาคารนี้ดีไหมธนาคารนี้ดอกแพงไหมเพื่อที่เราจะได้คุ้มค่าเงินของเราที่สุดครับ

……………………………………………..

#ซื้อบ้าน #ซื้อบ้านหลังแรก #กู้บ้านธนาคารไหนดี #บ้านหลังแรก #guruliving #วิธีซื้อบ้าน #ดอกเบี้ยบ้าน #สินเชื่อบ้าน

รีวิวสินเชื่อเงินก้อนดอกเบี้ยต่ำ 9% ต่อปี CIMB Personal Cash | Loan Review



สมัครสินเชื่อ + ข้อมูลเพิ่มเติม :

จุดเด่น
1. สินเชื่ออเนกประสงค์ในรูปแบบของวงเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Term Loan)
2. ผ่อนชำระคืนเป็นรายเดือน เดือนละเท่าๆกันตามจำวนงวดที่ระบุในสัญญา
3. ไม่ต้องมีบุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน
4. ผ่อนนานสูวสุด 60 เดือน
5. ผู้สมัครที่มีรายได้ต่อเดือน น้อยกว่า 30,000 บาทจะดัรีบอนุมัติวงเงินไม่เกิน 1.5 เท่าของรายได้
6. ผู้สมัครที่มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 30,000 บาทจะดัรีบอนุมัติวงเงินไม่เกิน 5 เท่าของรายได้
7. วงเงินอนุมัติตั้งแต่ 20,000 – 1,500,000 บาท

สินเชื่อบุคคลเพอร์ซัลนัลแคช
– รับเงินก้อน โดยโอนเข้าบัญชีเงินฝาก ชำระคืนเท่ากันทุกงวด
– สมัครวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
– สมัครง่ายโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน
– วงเงินอนุมัติตั้งแต่ 20,000 – 1,500,000 บาท
– ชำระคืนธนาคารเป็นรายเดือนๆละเท่าๆกัน
– คิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก
– อายุสัญญาขั้นต่ำ 12 เดือน และสูงสุดไม่เกิน 60 เดือน (ระยะเวลาการผ่อนขึ้นอยู่กับลูกค้าเลือกอัตราดอกเบี้ยของทางธนาคาร)

สินเชื่อส่วนบุคคล
สินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan) เป็นสินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่ต้องมีหลักประกันหรือผู้ค้ำประกันครับโดยสถาบันการเงินเขาจะเอาแหล่งรายได้ของเราเนี่ยมาพิจารณาการให้เงินกู้ให้กับเราครับ ซึ่งแน่นอนว่าเราก็ต้องมีแหล่งรายได้ที่มั่นคงด้วยนะครับถึงจะสามารถขอได้ เช่นมีรายได้จากเงินเดือน หรือถ้าทำธุรกิจก็ต้องมีเอกสารรายได้เพื่อเป็นหลักฐานครับ ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว วงเงินที่เราจะได้มาเนี่ยจะอยู่ที่ 5 เท่าของรายได้ต่อเดือนครับ เช่นถ้าเงินเดือน 20,000 เราก็อาจจะขอวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลได้สัก 100,000 บาทประมาณนี้แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่ธนาคารนะครับ บาง ธ ให้เยอะให้น้อยก็ว่ากันไป

สินเชื่อส่วนบุคคลเหมาะกับผู้ที่ต้องการรับเงินก้อนเพื่อนำไปใช้จ่ายตามความต้องการและความจำเป็นของผู้ขอสินเชื่อ เช่น นำไปชำระค่าเทอมลูก ใช้จ่ายในเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือใช้ในการประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลมีทั้งธนาคารและสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank)

ดอกเบี้ย
มาเรื่องที่สำคัญที่สุดที่ผมอยากจะอธิบายให้ทุกคนฟังนะครับคือการคิดดอกเบี้ยของสินเชื่อส่วนบุคคลครับ

สินเชื่อส่วนบุคคลเป็นผลิตภัณทางการเงินที่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณประมาน 16 -25% ครับ ซึ่งสินเชื่อในหมวดหมู่นี้ถ้าจะให้พูดกันตรงๆดอกเบี้ยถือว่าสูงกว่าผลิตภันการเงินหลายๆตัวที่เราคุ้นชินกันครับ ไม่ว่าจะสินเชื่อบ้าน หรือ สินเชื่อรถ หรือแม่กระทั่งสินเชื่อธุรกิจ

แต่ต้องบอกว่าโดยส่วนมากเนี่ยอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกันตามวงเงินที่ขอกู้ โดยยิ่งวงเงินกู้เพิ่มสูงมากขึ้น อัตราดอกเบี้ยก็จะลดลงครับ เช่น วงเงินกู้ไม่เกิน 150,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 26% ต่อปี วงเงินกู้ระหว่าง 150,000 – 400,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 24% ต่อปี และวงเงินกู้สูงกว่า 400,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี ประมานนี้ครับ

และสินเชื่อส่วนบุคคลจะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) ซึ่งมีทั้งรูปแบบของอัตราดอกเบี้ยแบบ Effective Rate หรือ Flat Rate (อัตราดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่)ครับคือ ดอกเบี้ยจะลดตามเงินต้นคงเหลือครับ

และนี่ก็เป็นลักษณะ Product ของสินเชื่อส่วนบุคคลที่ผมอยากให้ทุกคนทราบกันก่อนที่เราจะไปรีวิวผลิตภัณนะครับ ทำไมผมถึงต้องอธิบายเยอะขนาดนี้คืออยากให้ทุกคนเข้าใจก่อนครับว่า เรากำลังจะคุยกันเรื่องอะไร มีความเสี่ยง มีเรื่องอะไรที่ต้องรู้บ้าง ผมคิดว่าถ้าเรารู้แบบนี้เราจะสามารถตัดสินใจได้อย่างดียิ่งขึ้นครับ

#เงินกู้cimb #cimb #เงินกู้ #สินเชื่อส่วนบุคคล #กู้เงิน

ธนาคารไม่ยอมพักชำระหนี้ให้ ต้องทำยังไงต่อดี?



ธนาคารไม่ยอมพักชำระหนี้ให้ ต้องทำยังไงต่อดี?

จากประกาศจากธนาคารแห่งประเทศไทย เดือน กรกฎาคม 2567
– พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป
– สำหรับลูกหนี้ SMEs และ ลูกหนี้รายย่อย (ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้าง)
– เมื่อหมดระยะพักหนี้ สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ในทันที

อ่านรายละเอียดมาตรการ คลิก ➡

ช่องทางติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินโดยตรง ที่ ℹ️
หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) 📞 โทร. 1213

จากการที่ภาครัฐได้ยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 จังหวัด เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยจำกัดการเคลื่อนย้ายและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้มีผู้ได้รับผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะกับกลุ่มธุรกิจและลูกหนี้ที่มีฐานะการเงินเปราะบางมาตั้งแต่การระบาดของโควิด 19 ระลอกก่อน และได้ออกมาตรการช่วยเหลือเพื่อเยียวยาด้านรายได้อย่างเร่งด่วนให้กับผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือที่ตรงจุด

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ ตระหนักถึงความเดือดร้อนของลูกหนี้และเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินเพิ่มเติมให้แก่ลูกจ้างและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ จึงเห็นร่วมกันที่จะออกมาตรการเร่งด่วนด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เป็นระยะเวลา 2 เดือนให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ลูกหนี้ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เมื่อหมดระยะเวลาพักชำระหนี้แล้ว สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ในทันที เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักกับลูกหนี้

สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม คือ ลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการได้ แต่รายได้ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ สถาบันการเงินจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้

การให้ความช่วยเหลือตามแนวทางข้างต้น ลูกหนี้สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้เพื่อแสดงความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ทั้งนี้ หากลูกหนี้สามารถให้ข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจนถึงผลกระทบของกิจการหรือการจ้างงาน จะทำให้การพิจารณาให้ความช่วยเหลือโดยเจ้าหนี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยภายใต้มาตรการนี้ เป็นเพียงการเลื่อนการชำระออกไป ลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพและสามารถชำระหนี้ได้ จึงควรชำระหนี้ต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ภาระหนี้ในอนาคตเพิ่มขึ้นสูงเกินจำเป็น เช่นเดียวกับลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินอยู่ก่อนหน้า ที่ควรดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและยั่งยืนกว่า

อนึ่ง การพักชำระหนี้ภายใต้มาตรการนี้ เป็นการให้ความช่วยเหลือขั้นต่ำ สถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงได้มากขึ้นตามความเหมาะสม

ธปท. และทุกสมาคมฯ รวมถึงสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จะร่วมกันเร่งรัดและผลักดันการให้ความช่วยเหลือจากมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง ธปท. ได้ขอให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (nonbank) ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ไปพร้อมกัน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบให้ได้มากที่สุด ดังนั้น ขอให้ลูกหนี้ที่ประสบปัญหารีบติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินที่ใช้บริการอยู่เพื่อรับความช่วยเหลือ และหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินโดยตรง หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร 1213

#พักชำระหนี้ #พักชำระหนี้2567 #พักหนี้ #มาตราการพักชำระหนี้

ปี 2567 ธนาคารไหนดอกเบี้ยบ้านต่ำที่สุด จะซื้อบ้านต้องดู!! อัพเดทดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน 7 ธนาคาร



ปี 2567 ธนาคารไหนดอกเบี้ยบ้านต่ำที่สุด จะซื้อบ้านต้องดู!! อัพเดทดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน 7 ธนาคาร

จนมาถึงต้นปี 2567 นี้ครับอัตราดอกเบี้ยบ้านโดยเฉลี่ยของทั้งตลาดก็ยังคงอยู่ในอัตราที่ไม่สูงมากครับ ดังนั้นครับในช่วงต้นปีนี้ (ก่อนที่ดอกเบี้ยจะปรับตัวขึ้นนะครับ) สำหรับคนที่วางแผน มีการเตรียมพร้อมสำหรับการซื้อบ้านอยู่แล้วผมเชื่อว่าต้นปีนี้เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่ดีมากๆที่เราจะซื้อบ้านเลยครับ

และผมเสริมให้อีกนิดนึงนะครับปี 2567 นี้รัฐบาลได้มีประกาศลดค่าโอนค่าจดจำนองจองต่อีกในปี 2567 นี้ครับ

สินเชื่อบ้านธนาคารออมสิน
-ระยะเวลาขอ 30/04/2567
-อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 2.68%
– MRR = 6.245%
-ระยะเวลากู้ 40 ปี
-วงเงินกู้สูงสุด 100%
– กรณีซื้อบ้านใหม่ / ปลูกสร้าง

ธนาคารธอส
โครงการสินเชื่อบ้านคนละหลัง
– ระยะเวลาขอ 30/06/2567
– อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 2.75%
– MRR = 6.15%
– ระยะเวลากู้ 40 ปี
– วงเงินกู้สูงสุด 100% (ไม่เกิน สองล้าน)

ธนาคารกรุงไทย
สินเชื่อบ้านธนาคารกรุงไทย
– ระยะเวลาขอ 31/03/2567
– อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 2.73%
– MRR = 6.22%
– ระยะเวลากู้ 30 ปี
– วงเงินกู้สูงสุด 100%
– ดอกเบี้ยปีแรกเริ่มต้น 0.64% ต่อปี

ธนาคารกรุงศรี
สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
– ระยะเวลาขอ 31/03/2567
– อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.52%
– MRR = 6.05%
– ระยะเวลากู้ 30 ปี
– วงเงินกู้สูงสุด 90%
– สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ราคามากกว่า 5 ล้าน

ธนาคารกสิกร
– อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 5.2%
– MRR = 5.97
– ระยะเวลากู้ 30. ปี
– วงเงินกู้สูงสุด 90%
กรณีกู้ซื้อบ้านใหม่หรือบ้านมือสอง หรือ ปลูกสร้างบ้านเ

ธนาคารกรุงเทพ
สินเชื่อบ้านบัวหลวง
– ระยะเวลาขอ 31/03/2567
– อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.83%
– MRR = 5.75%
– ระยะเวลากู้ 35 ปี
– วงเงินกู้สูงสุด 95%
– วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท

สินเชื่อบ้านธนาคารไทยพาณิชย์
– ระยะเวลาขอ 31/03/2567
– อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี =5.995%
– MRR = 5.995%
– ระยะเวลากู้ 30 ปี
– วงเงินกู้สูงสุด 100%

และสำหรับคนที่กำลังวางแผนจะซื้อบ้านนะครับผมได้ทำคลิปเกี่ยวกับการวางแผนสำหรับคนที่กำลังจะกู้ซื้อบ้านว่า เราควรจะต้องวางแผนยังไง เตรียมความพร้อมยังไง จัดสรรเรื่องการเงินยังไง ให้ยื่นกู้แล้วผ่านชัวๆ ผมได้ทำสรุปไว้ในคลิป vdo แล้วนะครับ

กู้บ้าน ยังไงให้ผ่านผ่าน 100% เคล็ดลับการขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารที่ควรต้องรู้ !

เพิ่มเติมนิดนึงสำหรับคนที่เพิ่งเข้ามาดูและยังไม่ทราบว่า รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร ทำไมพอผ่อนบ้านไปครบ 3 ปี ถึงต้องรีไฟแนนซ์ผมทำคลิปอธิบายไว้อย่างละเอียดเลยนะครับสามารถเข้าไปดูได้ที่

รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร ทำไมผ่อนบ้านครบ 3 ปีต้อง Refinance

น่าจะเป็นประมานนี้นะครับสำหรับคนที่กำลังมองหาธนาคารเพื่อที่จะไปกู้ซื้อบ้าน แต่เลือกไม่ถูกว่าจะกู้ธนาคารไหนดีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคลิปนี้จะช่วยเป็นตัวเลือกให้ทุกๆคนตัดสินใจได้ดีขึ้นนะครับ

แต่สุดท้ายที่เราจะจากกันไปผมอยากจะฝากทุกๆคนไว้นิดนึงนะครับว่า ถึงแม้ว่าช่วงนี้จะเป็นช่วงต้นปี 2567 ยังคงเป็น Golden Peroid ที่ทุกอย่างมันดูเหมือนจะน่าซื้อ น่าลงทุนไปหมด แต่สิ่งหนึ่งที่ผมย้ำเสมอและผมเชื่อว่ามันสำคัญมากๆคือ

“เราต้องประเมินความเสี่ยง” ที่อาจจะเกิดขึ้นในชีวิตเราไว้ด้วยนะครับ แน่นอนว่าวันนี้บ้าน คอนโดเขาลดราคา วันนี้อัตราดอกเบี้ยมันถูก แต่ถ้าสถานะทางการเงินเรายังไม่พร้อม หรือ เรายังไม่จำเป็นที่ต้องซื้อ ผมก็คิดว่าเราไม่ควรห่วงเรื่องส่วนลด เรื่องโปรโมชั่น จนลืมตรวจสอบความจำเป็นและความพร้อมของตัวเรานะครับ เพราะสุดท้ายแล้วถ้าเราตัดสินใจโดยขาดการไตร่ตรอง และ วางแผน การซื้อบ้านของเรามันจะกลับมาสร้างเป็นปัฐหาที่ใหญ่และปวดหัวให้เรามากๆเลยครับ

#สินเชื่อบ้าน #สินเชื่อบ้าน2567 #ดอกเบี้ยบ้าน2567 #ซื้อบ้าน2567 #สินเชื่อบ้านธนาคารออมสิน #สินเชื่อบ้านธอส #สินเชื่อบ้านกสิกร #สินเชื่อบ้านกรุงไทย #สินเชื่อบ้านกรุงศรี #สินเชื่อบ้านไทยพาณิชย์ #สินเชื่อบ้านบัวหลวง

ลูกหนี้เฮ ธนาคารรัฐฯ ออกมาตรการพักชำระหนี้อย่างน้อย 2 เดือน



ขอขอบคุณที่มาจาก siamtopic.com
***อย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งแจ้งเตือนเพื่อรับชมคลิปข่าวใหม่ๆทุกวันจ้า***
***รวมคลิป#ข่าวเด่นหวยดัง คลิปข่าวสั้นประเทศไทย อัพเดตราคาทองคำประจำวัน ข่าวเด่นโซเชี่ยล ข่าวสวัสดิการของรัฐ ข่าวสารการเงิน ทันเหตุการณ์โดยทีมงาน ข่าวเด่นหวยดัง และพิเศษทุกวันที่ 1 และ 16 ช่วงเช้าจะนำข่าวสารการเสี่ยงโชครับรองว่าเด็ดทุกสำนักจ้า ***

ธนาคาร TMB ธนชาติ พักหนี้บ้าน หนี้รถ ลดดอกเบี้ยบัตรเครดิต | มาตราการช่วยเหลือ 2567



ธนาคาร TMB ธนชาติ พักหนี้บ้าน หนี้รถ ลดดอกเบี้ยบัตรเครดิต | มาตราการช่วยเหลือ 2567

ตามที่สถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องกับระบบเศรษฐกิจไทย และมีผลไปยังสภาพคล่องของลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจของธนาคาร ธนาคาร TMB ธนชาติ จึงได้ขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือระยะ 3 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจให้กับลูกค้าจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 โดยมีมาตรการดังนี้

บัตรเครดิต :

1. ผ่อนยอดค้างชำระด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% นาน 48 เดือน*

2.บัตรกดเงินสด
ลดดอกเบี้ยเเหลือ 21% พร้อมผ่อนชำระนานสูงสุด 60 เดือน

3. รวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น

สินเชื่อรถยนต์:

สินเชื่อบ้าน :

1.พักชำระค่างวดพร้อมปรับลดค่างวด หรือ พักชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยบางส่วนพร้อมปรับลดค่างวด

2.พักชำระเงินต้นพร้อมปรับลดค่างวด

3.ปรับลดค่างวด และ/หรือ ขยายระยะเวลาผ่อนชำระ

4.ทยอยชำระคืนเป็นขั้นบันได หลังลดค่างวดหรือพักชำระหนี้

5.รวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น

สรุป 3 มาตราการช่วยเหลือจาก ธนาคารออมสินปี2567 & มาตราการพักชำระหนี้ต้นปี 2567



3 มาตราการช่วยเหลือจาก ธนาคารออมสิน 2567 และ มาตราการพักชำระหนี้ต้นปีนี้

มาตราการพักชำระหนี้คืออะไร
2024 มาตราการพักชำระหนี้ช่วยเราจริงหรือเปล่า?

1.มาตรการลด-พักชำระนี้
สำหรับลูกค้าสินเชื่อในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด
พักชำระเงินต้น
พัก/ลดดอกเบี้ย
ระยะเวลาพักชำระ 3-12 เดือน แล้วแต่ความรุนแรงของผลกระทบ
สำหรับลูกค้าที่ไม่ได้อยู่ในเขต 28 จังหวัดเสี่ยงแต่ได้รับผลกระทบก็สามารถลงทะเบียนส่งคำร้องมาให้ธนาคารพิจารณาได้ โดยธนาคารขออนุญาตพิจารณาเป็นรายกรณีไป
ช่องทางลงทะเบียน MyMo , Website , สาขา

2.มาตรการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก
– วงเงิน 10,000 ล้านบาท
วงเงินสูงสุด 50,000 บาท ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน (Flat Rate) ผ่อนชำระสูงสุด 3 ปี
พ่อค้า ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ ผู่มีรายได้ประจำ

3.มาตรการสินเชื่อ
SMEs มีที่เงิน ขยายวงเงินเพิ่ม 5,000 ล้านบาท รวมวงเงินโครงการ 10,000 ล้านบาท
กู้สูงสุด 70% ของราคาประเมิน สูงสุดไม่เกิน 3 ปี
อัตราดอกเบี้ย 5.99% ต่อปี

#ออมสินมาตราการช่วยเหลือ #มาตราการช่วยเหลือ #พักชำระหนี้ #ธนาคารออมสิน

(รีวิว)สินเชื่อเงินสดดอกเบี้ยถูก กู้ง่ายไม่ต้องมีหลักประกัน สินเชื่อ Smart Money | ธนาคารกรุงไทย



(รีวิว)สินเชื่อเงินสดดอกเบี้ยถูก กู้ง่ายไม่ต้องมีหลักประกัน สินเชื่อ Smart Money | ธนาคารกรุงไทย

จุดเด่น
– วงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้ แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท
– ไม่มีบัญชีเงินเดือนกับกรุงไทยก็ทำได้ เพียงมีรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป
– กู้ง่าย ไม่ต้องมีหลักประกัน หรือคนค้ำประกัน
– ผ่อนได้นานสูงสุด 60 เดือน

คุณสมบัติ
– บุคคลทั่วไปที่มีรายได้ต่อเดือนขั้นต่ำ 30,000 บาท
– มีอายุงานไม่น้อยกว่า 1 ปี
– เจ้าของร้านค้ารายย่อยทั่วไป
– มีรายได้สุทธิขั้นต่ำ เดือนละ 30,000 บาท
– เปิดร้านมาไม่น้อยกว่า 2 ปี
– ไม่มีประวัติเสียหายด้านการเงิน ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว

อัตราดอกเบี้ย

สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ประจำ 20% ต่อปี
ผู้ประกอบการร้านค้ารายย่อยทั่วไป 22% ต่อปี

เอกสารที่ใช้สมัคร
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– บัตรประจำตัวพนักงาน (ถ้ามี)
– ต้นฉบับหนังสือรับรองรายได้ หรือสลิปเงินเดือนล่าสุด หรือต้นฉบับหลักฐานอื่นที่แสดงรายได้ที่เชื่อถือได้

Statement
– บุคคลทั่วไปที่มีรายได้ประจำ ใช้ Statement ย้อนหลังมากกว่า 3 เดือน
– เจ้าของร้านค้ารายย่อยทั่วไป ใช้ Statement ที่ดำเนินธุรกิจ ย้อนหลัง 1 ปี สำเนา

– หนังสือรับรองการจดทะเบียน (หากมี) หรือสำเนาทะเบียนการค้า (หากมี)
– เอกสารใบแจ้งยอดบัญชีสินเชื่อบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิตเดือนล่าสุด หรือ เอกสารอื่นในลักษณะเดียวกัน หากต้องการกู้เพื่อชำระค่าสินเชื่อ

ยกตัวอย่างการคำนวน

สมมุติผมเงินเดือน 30,000 บาท ผมอยากจะกู้เงินจากสินเชื่อตัวนี้ เขาให้วงเงินสูงสุดคือ 5 เท่าของรายได้ ดังนั้น วงเงินสูงสุดที่เราจะกู้ได้คือ 150,000 บาท ผมกำหนดว่าผมอยากผ่อนให้นานสูงสุดถึง 1ปี กับ 5 ปี ลองทำดูสักสองตัวนะครับ

1. ผ่อน 1 ปี (12 งวด) จะต้องผ่อนชำระธนาคารเดือนละ 13,458 บาท
2. ผ่อน 5 ปี (60 งวด) จะต้องผ่อนชำระธนาคารเดือนละ 3,480 บาท

ซึ่งตรงส่วนนี้ทุกคนสามารถไปลองคำนวนด้วยตัวเองได้ที่หน้า website ของธนาคารนะครับ

สิ่งที่ต้องระวังสำหรับสินเชื่อตัวนี้

1.อัตราดอกเบี้ยอาจมีการปรับเพิ่มขึ้นได้ ถ้าค่า MRR เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการที่ดอกเบี้ยขึ้นสูงจะทำให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนสูงขึ้นไปด้วย

2.เราควรชำระหนี้ให้กับธนาคารตามยอดที่เขากำหนดไว้ และต้องชำระภายในระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด ซึ่งถ้าเราไม่ทำแบบนี้ธนาคารจะมีวิธีการคิดดอกเบี้ยปรับโดยใช้เกณฑ์ตามที่ธนาคารกำหนดซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากๆ

3.ถ้าผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขการชำระธนาคารอาจจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้

สำหรับคนที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารทุกสาขาหรือไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้าเว็บไซต์เลยนะครับเดี๋ยวผมจะทิ้งไว้ข้างล่างคลิปนี้นะ

หลังจากที่เราได้ฟังรายละเอียดผลิตภัณฑ์กันไปทั้งหมดแล้วนะครับผมอยากจะย้ำให้เพื่อนๆฟังอีกทีนะครับว่าสินเชื่อทุกตัวผลิตภัณฑ์ทางการเงินทุกตัวนะครับมีรูปแบบมีวัตถุประสงค์การใช้งานและที่สำคัญมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันนะครับ มันอยู่ที่การเลือกใช้ของเราว่าเราจะเลือกนำไปใช้ในช่วงเวลาไหนได้ถูกต้องและเหมาะสมหรือเปล่า

สำหรับผมนะ Main point ของ สินเชื่อส่วนบุคคล ส่วนมากเขาออกแบบมาเพื่อ “คนที่ต้องการสภาพคล่องในช่วงเวลาสั้นๆ” ต้องกาใช้เงินสดออกมาเผื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน ต้องการเงินมาหมุนเวียนในธุรกิจ หรือ ต้องการเงินมาปิดหนี้นอกระบบที่ดอกแพงมากกกกกก

ดังนั้นสิ่งที่ผมอยากให้เพื่อๆพึงระลึกไว้เสมอนะครับก่อนจะกู้เงินไม่ว่าจะสินเชื่ออะไรก็แล้วแต่ให้จำไว้ว่า สินเชื่อทุกชนิด มีราคาที่ต้องจ่ายนั่นก็คือ ดอกเบี้ย

สินเชื่อส่วนบุคคลตัวนี้ก็เหมือนกันครับ ทุกครั้งที่จะไปขอกู้เงินออกมา อยากให้ทบทวนดูก่แนว่าจำเป็นจริงๆไหม และ เรามีแผนหรือมีเงินสำรองในการชำระคืนหรือเปล่า เพราะย้ำอีกครั้งนะครับว่าดอกเบี้ยเฉลี่ยของสินเชื่อส่วนบุคคลเนี่ยอยู่ที่ปีละประมาน 18-28% ซึ่งสูงมากกกกก อย่าใช้เพลินจนลืมคิด จนลืมคำนวน ไปนะครับ

เพราะไม่อย่างนั้นมันจะกลายเป็นปัญหาทางการเงินที่ใหญ่มากๆเลยครับ

จิงๆผมมีความเชื่ออย่างหนึ่งนะครับอันนี้เป็นความเชื่อส่วนตัวของผมนะ ผมเชื่อว่า สินเชื่อทุกประเภทมีประโยชน์และมีข้อดี ข้อเสียในตัวของเขาเองครับ เราจะไปเหมารวมว่า มันแย่ซะหมด หรือ อันนี้ไม่ดี อันนั้นไม่ดีอันนี้ผมคิดว่าก็น่าจะไม่จิงทั้บหมดนะครับ มันอยู่ที่เราครับ เราในฐานะเจ้าของสินเชื่อเราต้องวางแผน บริหาจัดการ ศึกษาข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ ของ product ทางการเงินพวกนี้และนำมาใช้ให้อย่างถูกต้องนะครับ

#สินเชื่อส่วนบุคคลกรุงไทย #กู้เงินกรุงไทย #ธนาคารกรุงไทย #กรุงไทย #สินเชื่อส่วนบุคคล #KTB #กู้เงิน

ธนาคารออมสินต่อมาตราการพักชำระหนี้ถึง 31 ธันวาคม 2567 ใครได้พักต่อบ้าง?



ธนาคารออมสินต่อมาตราการพักชำระหนี้ถึง 31 ธันวาคม 2567 ใครได้พักต่อบ้าง?

ธนาคารออมสินช่วยลูกหนี้สู้ภัย COVID-19 ระลอกใหม่ ออกมาตรการสมัครใจพักชำระเงินต้น เพื่อลดภาระการผ่อนชำระหนี้รายเดือน สามารถแจ้งความประสงค์ผ่านแอปพลิเคชัน MyMo ได้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม ถึง 30 มิถุนายน 2567

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2567 เห็นชอบมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในส่วนของมาตรการพักชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยให้ขยายระยะเวลาพักชำระหนี้ลูกค้ารายย่อย ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ตามความสมัครใจ นั้น

ธนาคารออมสิน ได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือเพื่อลดภาระการผ่อนชำระหนี้รายเดือน และบรรเทาปัญหาสภาพคล่องแก่ลูกหนี้สินเชื่อของธนาคารที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเปิดโอกาสให้ลูกหนี้สมัครใจเข้ามาตรการพักชำระเงินต้น จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย ครอบคลุมลูกหนี้สินเชื่อทุกประเภท ทั้งที่เป็นรายย่อยและสินเชื่อธุรกิจ โดยมีลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติสามารถเข้าโครงการได้ จำนวนประมาณ 1 ล้านราย

นอกจากนี้ ลูกหนี้รายใดมีความจำเป็นต้องรับความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากการพักชำระเงินต้น ธนาคารอาจพิจารณามาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสมได้เป็นรายกรณี ซึ่งมาตรการดังกล่าวนี้เป็นมาตรการเสริมจากการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ ที่ธนาคารได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามงวดชำระเดิม โดยที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมโครงการแล้วมากกว่า 5 แสนราย

ทั้งนี้ ลูกค้าสินเชื่อของธนาคารออมสินสามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้ามาตรการพักชำระเงินต้นเป็นการชั่วคราว และเลือกแผนการชำระหนี้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน MyMo ได้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2567 สำหรับลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจที่มีวงเงินกู้เกิน 10 ล้านบาท สามารถติดต่อดำเนินการที่สาขาของธนาคาร สอบถามละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ธนาคารออมสิน โทร. 1115

มาตราการพักชำระหนี้คือ
การพักชำระแค่พักจ่ายนะครับ แต่เงินต้นที่ค้างไว้ยังคงต้องจ่ายครับ
ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายไนะครับ
สมมุติว่าเราผ่อนสินเชื่อบ้านกับออมสินอยู่ ต้องส่งเดือนละ 10,000 บาท ซึ่ง 10,000 ตรงนี้จะประกอบไปด้วย เงินต้น + ดอกเบี้ยครับ เช่น

10,000 = ดอกเบี้ย(5,000) + เงินต้น(5,000)

ดังนั้นการเข้ามาาตราการนี้จะทำให้เราลดภาระค่าใช้จ่ายรายเดือนของเราไปครับจาก 10,000 ที่ต้องจ่ายทุกเดือน กลายเป็น 5,000 บาทครับ

ข้อดีของการเข้าร่วมมาตราการพักชำระหนี้คือ เราจะมีสภาพคล่องมากขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายครับ

แต่เรื่องที่ทุกคนต้องรู้คือ

การจ่ายแค่ดอกเบี้ยแบบนี้ จะทำให้เงินต้นของเราไม่ลดเลยนะครับ
และเมื่อเงินต้นไม่ลด ดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญาก็จะไม่ลดตามไปด้วยครับ

ดังนั้นผมคิดว่ามาตราการพักชำระหนี้รอบใหม่นี้เหมาะสำหรับเพื่อนๆที่การเงินตึงมือ อยากลดภาระค่าใช้จ่ายบางส่วนให้ตัวเบาขึ้น ไม่หนักเกินไปแบบนี้ผมว่ามาตราการนี้เหมาะครับ แต่ถ้าใครพอมีกำลังที่จะส่งผมก็แนะนำว่าไม่จำเป็นที่ต้องเข้าร่วมมาตราการพักชำระหนี้นี้ดเลยนะครับ ย้ำว่าถ้าเรายังพอไหวแนะนำว่าให้ส่งแบบปรกติเพื่อให้เงินงวดของเราไปตัดเงินต้นจะดีกว่านะครับ

#ธนาคารออมสิน #พักชำระหนี้2567 #พักชำระหนี้ #ออมสินพักชำระหนี้

ดอกเบี้ยบัตรเครดิตเขาคิดกันยังไง ใช้บัตรเครดิตยังไงไม่ให้เสียดอกเบี้ย | Guru Living



ดอกเบี้ยบัตรเครดิตเขาคิดกันยังไง ใช้บัตรเครดิตยังไงไม่ให้เสียดอกเบี้ย | Guru Living

ผมเชื่อว่าทุกๆคนนะครับพอถึงวัยที่เริ่มต้นทำงานเนี่ย ผลิตภัณฑ์การเงินตัวแรกๆที่จะมาหาทุกคนเลยคือ “บัตรเครดิต” จริงไหมครับ เนื่องจากบัตรเครดิตสามารถทำได้โดยไม่มีข้อกำหนดและเงื่อนไขอะไรที่ยุ่งยากมากมายขอแค่เราเป็นพนักงานบริษัทที่มีสลิปเงินเดือนทำงานสัก 3 เดือนถึง 6 เดือนก็สามารถทำบัตรเครดิตได้แล้วครับอีกทั้งในตลาดยังมีบัตรเครดิตให้เราเลือกทำอยู่เยอะมากๆเลยครับ

ซึ่งแน่นอนครับว่าบัตรเครดิตช่วยให้การใช้ชีวิตของเราสะดวกยิ่งขึ้น เวลาเราไปซื้อของแล้วไม่จำเป็นจะต้องพกเงินสดไปก่อนเราสามารถรูดบัตรเครดิตไปก่อนก็ได้หรือการซื้อของบางประเภทบัตรเครดิตสามารถทำโปรโมชั่นผ่อน 0% เป็นระยะเวลา 10 เดือนหรือเดี๋ยวนี้ขยายระยะเวลาไปถึง 20 เดือนก็มีครับ

ถึงจะฟังดูดีดูสะดวกแบบนี้แต่เอาเข้าจริงๆแล้วบัตรเครดิตนั้นมีทั้งข้อที่เป็นประโยชน์และมีข้อที่ควรระมัดระวังไว้ไม่แพ้กันครับ และเรื่องที่ผมคิดว่าเพื่อนๆที่ใช้บัตรเครดิตทุกๆคนควรจะต้องทราบนั่นก็คือ บัตรเครดิตถ้าเราใช้จ่ายไม่ถูกวิธีเราจะเจอกับ ”ดอกเบี้ย” ครับ ซึ่งต้องบอกเลยนะคับว่าดอกเบี้ยของบัตรเครดิตโดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ ปีละ 18% ครับซึ่งถ้าฟังแบบนี้หลายๆคนอาจจะยังไม่เห็นภาพว่าดอกเบี้ย 18% ต่อปีมันมากหรือมันน้อยกันแน่หละ ผมให้เปรียบเทียบกันง่ายๆนะครับ ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารต่างๆตอนนี้เนี่ยอยู่ที่ประมาน 1.XX – 0.XX เอาว่าผมปัดกลมๆให้เป็นสัก 1% เลยแล้วกันนะครับ ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 1% แต่ดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดที่ 18% ดังนั้นพอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมครับว่าตัวเลขมันเยอะมากกกก

คำถามต่อมาที่ทุกๆคนคงอยากจะรู้นั่นคือ “แล้วเมื่อไรเขาถึงจะคิดดอกเบี้ยเราหละ” คือแบบนี้นะครับดอกเบี้ยจากบัตรเครดิตจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราทำ 2 กรณีนี้ครับ

1.เมื่อเราค้างชำระค่าบริการ
2.เมื่อจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต

ดังนั้นวันนี้ครับผมเลยอยากชวนทุกคนมาคุยกันว่าการคิดดอกเบี้ย บัตรเครดิตเนี่ยเขาคิดคำนวนกันยังไง ถ้าจะต้องเสียเราจะต้องเสียเท่าไรเพื่อให้เราเอาไปประมาณการดอกเบี้ยได้ครับ

มาเริ่มกันตั้งแต่ว่าหลักการของการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตเนี่ยเขาจะคิดจากอะไรบ้าง ต้องบอกว่าดอกเบี้ยจากบัตรเครดิตจะถูกคิดจากสองส่วนครับ
1.ดอกเบี้ยที่ใช้จ่าย
2.ดอกเบี้ยที่ค้างชำระ
เดี๋ยวผมขออนุญาติยกตัวอย่างให้เห็นภาพและคำนวนไปพร้อมกันเลยนะครับ
เริ่มจาก

วันที่ 5 มกราคม 2563 ผมได้ใช้จ่ายบัตรเครดิต ธ หนึ่งรูดซื้อสินค้าไปเป็นเงิน 18,000 บาท โดยที่ธนาคารกำหนดวันสรุปยอดบัญชีมาเป็นวันที่ 25 มกราคม 2563 โดยค่าใช้จ่ายบัตรใบนี้มีกำหนดชำระวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 ถ้าพอถึงวันกำหนดชำระ ผมจ่ายชำระขั้นต่ำแค่ 1,800 บาท คำถามคือในรอบบิลถัดไป ผมจะโดนคิดดอกเบี้ยเท่าไร ?? (กำหนดอัตราดอกเบี้ยบัตรอยู่ที่ 18% ต่อปี)
วิธีทำคือเรามาแยกสองส่วนก่อนนะครับ
1.ดอกเบี้ยที่ใช้จ่าย 2.ดอกเบี้ยที่ค้างชำระ

1.ดอกเบี้ยที่ใช้จ่าย
ดอกเบี้ยจะคิดจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดในรอบบัญชีที่แล้ว หรือ 18,000 บาท โดยจำนวนวัน จะนับจากวันที่สรุปยอดรายการ (25 ม.ค. 2563) จนถึงวันก่อนที่ธนาคารได้รับชำระเงินขั้นต่ำ (8 ก.พ. 2563) หรือเท่ากับ 15 วัน
ดอกเบี้ยใช้จ่าย =( เงินต้นคงเหลือ X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวันในงวด) / 365
= (18,000 x 18% x 15 ) / 365
ดอกเบี้ยที่ใช้จ่าย = 133.15 บาท

2.ดอกเบี้ยที่ค้างชำระ
ดอกเบี้ยจะคิดจากยอดเงินต้นคงเหลือ หรือ 16,200 บาท โดยจำนวนวัน จะนับจากวันที่ชำระเงิน ขั้นต่ำ (9 ก.พ. 2563) จนถึงวันสรุปยอดรายการเดือนถัดไป (25 ก.พ. 2563) หรือเท่ากับ 17 วัน

ดอกเบี้ยค้างชำระ = เงินต้นคงเหลือที่จ่ายขั้นต่ำไป X ดอกเบี้ย 18% x (จำนวนวันที่ชำระจนถึงวันปิดยอดในรอบล่าสุด) / 365 วัน
= (16,200 x 18% x 17 ) / 365
ดอกเบี้ยค้างชำระ = 135.81 บาท

ดังนั้นยอดบิลที่จะถูกเรียกเก็บในรอบบิลถัดไปนั่นก็คือ

เงินต้นคงเหลือ + ดอกเบี้ยใช้จ่าย + ดอกเบี้ยค้างชำระ

= 16,200 + 133.15 บาท + 135.81 บาท
= 16,468.96 บาท

ในกรณีนี้ในรอบเดือนถัดไปถ้าเรามีค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มเข้ามาอีกเราก็ต้องเพิ่มลงไปด้วยนะครับ

#ดอกเบี้ยบัตรเครดิต #คำนวนดอกเบี้ยบัตรเครดิต #บัตรเครดิต