#เยียวยาโควิดรอบใหม่#เงินชาวนาล่าสุด
การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 “ระลอกใหม่” หรือ “ระลอกสอง” สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงทั่วทุกสารทิศ ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ การเมือง-ความมั่นคง และสังคม
ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง-กูรูทางการเมือง “ฟันธง” ไปในทิศทางเดียวกันว่า ในปี 2567 รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ต้องเผชิญกับ โควิด-19 ระลอกใหม่ ไปอีกอย่างน้อย 3-6 เดือน ก่อนที่ “วัคซีนโควิด” เข็มแรกจะถูกฉีดให้คนไทย
การแก้ปัญหาของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะท่านผู้นำ-ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 (ศบค.) ดูเหมือนยัง “เมาหมัด” เพราะ “จับต้นชนปลายไม่ถูก” ถึงสาเหตุของการระบาดของโควิด-12 “รอบสอง”
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 4 วันอันตราย จึงมีผู้ติดเชื้อมากขึ้น-ดาวกระจายไปมากกว่าครึ่งประเทศ
การแก้ปัญหาโควิด-19 “รอบใหม่” มีเสียงเรียกร้อง-ทักท้วงการ “ล็อกดาวน์รอบสอง” เพราะมีทั้งมั่นใจ-ไม่มั่นใจว่า “เจ็บแต่จบ” ซึ่งหลังจากประชาชนเดินทางกลับจากเทศกาลปีใหม่ คาดว่าเรื่อง “ล็อกดาวน์” จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตั้งแต่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร-ล็อกดาวน์ประเทศ ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 โดยมีผลตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา มีการขยายอำนาจการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมาแล้ว 8 ครั้ง
และทำท่าจะประกาศ “ต่ออายุ” พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็น “ครั้งที่ 9” หลังกำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 มกราคม 2567 รวมแล้วคนไทยมี “ต้นทุน” ที่ต้องจ่ายให้กับการพำนักอยู่กับ “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” มาแล้ว 9 เดือน 21 วัน
ขณะที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์มี “รายจ่าย” ที่ต้องเยียวยาเศรษฐกิจ-ประชาชน ภายใต้เม็ดเงินงบประมาณ กระเป๋าซ้าย-กระเป๋าขวา ทั้งจากเงินในงบประมาณ-เงินนอกงบประมาณ
ดั่งที่ “สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์” รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เดินสายเช้า-ค่ำถึงมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจ 3 เดือนหลังเกิดการระบาดโควิด-19 เป็นเม็ดเงินกว่า 8 แสนล้านบาท
ดังนี้
1.โครงการเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ของกระทรวงการคลัง คือ โครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” หรือ “มาตรการชดเชยรายได้” แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบของโรคโควิด-19 หรือ ผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ เช่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ รายละ 5,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลา 3 เดือน (เมษายน – มิถุนายน 2563)
มีกรอบวงเงินสำหรับใช้ในการดำเนินโครงการ จำนวน 240,000 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินงบประมาณ จำนวน 70,000 ล้านบาท และเงินกู้ จำนวน 170,000 ล้านบาท ซึ่งสามารถรองรับผู้ผ่านเกณฑ์สูงสุด 16 ล้านคน
2.โครงการเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่เกษตรกร จำนวน 10 ล้านราย (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) รายละ 5,000 บาท 3 เดือน (พฤษภาคม-กรกฎาคม 2563) แหล่งเงินจากพ.ร.ก.กู้เงิน 150,000 ล้านบาท
3.โครงการเยียวยาให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเยียวยา จากโครงการใด ๆ ของภาครัฐ ในช่วงแพร่ระบาดโควิด-19 จำนวน 1,000 บาทต่อเดือน 3 เดือน (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ไม่เกิน1,164,222 คน แหล่งเงินจากพ.ร.ก.กู้เงิน 3,492,666,000 บาท
4.โครงการเยียวยากลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ (กลุ่มเปราะบาง) ที่ได้รับผลกระทบทางสังคมจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) จำนวน 6,781,881 คน ประกอบด้วย
(1) เด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จำนวน 1,394,756 คน (2) ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 4,056,596 คน และ (3) คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน 1,330,529 คน
โดยช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มเติมจากเงินอุดหนุนรายเดือนข้างต้น รายละ 1,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พฤษภาคม-กรกฎาคม 2563) งบประมาณจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 20,345,643,000 บาท
4.โครงการ “คนละครึ่ง” เฟส 1-2 คนละ 3,500 บาท จำนวน 15 ล้านราย วงเงินจากแหล่งเงินกู้ 52,500 ล้านบาท (เฟสแรก 30,000 ล้านบาท เฟสสอง 22,500 ล้านบาท)
5.โครงการ “ช้อปดีมีคืน” ลดหย่อนภาษีสูงสุด 30,000 บาท 6.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เฟส 1-2 (ตุลาคม 2563 – มีนาคม 2567) จำนวน 13,948,518 คนละ 500 บาท 3 เดือน วงเงินจากแห่งเงินกู้ทั้งสิ้น 41,535 ล้านบาท (เฟสแรก 20,922 ล้านบาท เฟสสอง 20,613 ล้านบาท) 7 โครงการเราเที่ยวด้วยกัน วงเงิน 20,000 ล้านบาท และ 9.โครงการกำลังใจ 2,400 ล้านบาท
ทั้งนี้ 5 มาตรการหลังส่งผลต่อเศรษฐกิจ 3 เด้ง ทั้งเรื่องการเพิ่มกำลังซื้อ เด้งแรก เพิ่มกำลังซื้อ เด้งที่สอง เพิ่มเงินในกระเป๋าผู้ประกอบการ และ เด้งที่สาม กระตุ้นการท่องเที่ยว
หากถามถึง “เงินในกระเป๋า” ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ-เดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ให้ความ “อุ่นใจ” ว่า หากประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 “เลวร้ายที่สุด” หรือ มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก มีเงินมีเพียงพอที่จะเยียวยา หรือ มีเงินประมาณ 2-3 แสนล้านบาท รวมกับงบประมาณงบกลางและงบกลางกรณีฉุกเฉินฯ อีก รวมแล้วประมาณ 4 แสนล้านบาท “สบาย ๆ”
“ต้องดูการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะนี้ส่งผลกระทบมากน้อยแค่ไหน ถ้าล็อคไม่นาน เรายังมีเงินเยียวยา 400,000 ล้านและงบกลางปี 64 ที่กันไว้อีก 40,000 ล้าน ยังไม่ได้ใช้ รวมถึงงบกลางกรณีฉุกเฉินและจำเป็นปี 64 อีก 99,000 ล้านบาทหรือราว ๆ 1.4 แสนล้านบาท ไม่ต้องห่วง น่าจะพอ และถ้าอีก 1 เดือน สถานการณ์ดีขึ้น เราอาจจะไม่ต้องใช้”
ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ทุบกระปุก-กวาดเงินฉุกเฉินไว้วิ่ง-สู้-ฟัด ทั้งเงินใน-นอกงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รายงาน
ข่าวสารประจำวันที่04มกราคม2567