“สุดารัตน์” ชี้“ชิมช้อปใช้” กระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยไม่ยั่งยืน | NEW18
คุณหญิงสุดารัตน์” ล้อมวงคุยชาวสกลนคร พบ “ชิมช้อปใข้” รายได้ไม่กระจายถึงชุมชนอย่างแท้จริง การใช้จ่ายในลักษณะข้ามจังหวัดเป็นเสมือนการใช้เงินซื้อสินค้าในห้างขนาดใหญ่ …
✅ เฟสแรก 9 พันล้าน! โอนเงินชิมช้อปใช้ให้ร้านค้าทั่วประเทศ ร้านช้อปมาแรงสุด 5 พันล้าน
Please Visit: Please Subscribe: …
"คำผกา" ซัดแรง "คนละครึ่ง" ประเพณีชิงเปรต
กด Subscribe ติดตามได้ที่นี่ :
เพื่อชมคลิปข่าวเด็ด, สัมภาษณ์ exclusive ก่อนใคร
ติดตามช่องทางสื่อสารไบรท์ทีวี
Website :
Facebook :
Twitter :
Instagram :
Youtube :
ติดต่อโฆษณา โทร. 086-322-6363
ในการถ่ายทำทุกเทป มีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อลดอัตราความเสี่ยงการติดเชื้อ (COVID-19)
#คนละครึ่ง #ลงทะเบียน #เว็บล่ม
ปัญหา และวิธีแก้ ลงทะเบียนคนละครึ่ง 11 เดือน 11
#ปัญหาลงทะเบียนคนละครึ่ง
ชิมช้อปใช้เฟส 3 เหงาหงอย คนไม่ค่อยลงทะเบียน
ชิมช้อปใช้เฟส 3 เหงาหงอย คนไม่ค่อยลงทะเบียน
เรียบเรียง มุมข่าว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
#ข่าวเด่นข่าวเด็ด #ข่าวเด็ด #ข่าวเด่น
‘คลัง’ เล็งทบทวนจีดีพี – เข็น ‘ชิมช้อปใช้’ เฟส 4 – NEWSROOM ห้องข่าวเศรษฐกิจ 29/01/63
NEWSROOM ห้องข่าวเศรษฐกิจ 29/01/63 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.30-11.50 น. เจาะลึกประเด็นขอเพลทฐานครับ ‘คลัง’ เล็งทบทวนจีดีพี – เข็น ‘ชิมช้อปใช้’ เฟส 4 …
คิดว่าคนไทยโง่หรือ? ฝ่ายค้านซัดรัฐบาล แจกเงินปชช.ให้ปชช. แล้วยังจะให้ปชช.ช่วยซื้อมือถืออีก!
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รมว. กลาโหม และ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ได้ออกมาตรการเยียวยา ไทยชนะ ผ่าน ครม. ให้เยียวยาประชาชน เดือนละ 3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือนแล้วนั้น นอกจากจำนวนเงินจะน้อยไป เพราะแค่วันละ 117 บาท เท่านั้น และระยะเวลาสั้นไปเพราะไม่น่าจะควบคุมสถานการณ์และกลับมาเป็นปกติ ได้ใน 2 เดือนแน่ แล้วรัฐบาลยังกำหนดว่าจะไม่จ่ายเป็นเงินสดแต่จะจ่ายเข้าบัญชีและเบิกเงินสดไม่ได้ นำไปใช้จ่ายได้แบบโครงการคนละครึ่งเท่านั้น ซึ่งสร้างความไม่พอใจกับประชาชนเป็นจำนวนมาก เพราะในภาวะที่ลำบากกันอย่างมากนี้ ประชาชนมีความจำเป็นต้องใช้เงินสดในหลายกรณี ดังนั้นจึงอยากให้ พลเอกประยุทธ์ ได้เร่งปรับเปลี่ยนการจ่ายเยียวยาให้กับประชาชน ให้เป็นเงินสดเพื่อบรรเทาความลำบากของประชาชน ทั้งนี้ ข้ออ้างของรัฐบาลฟังแล้วเหมือนอยู่คนละโลกกับความเป็นจริงที่ประชาชนกำลังเดือดร้อนกันอย่างมาก การที่ไม่ให้เบิกเงินสดโดยอ้างว่ากลัวประชาชนจะไปซื้อ ล็อตเตอรี่ เหล้า บุหรี่ บ้าง กลัวไวรัสวิกฤติจะติดมากับเงินสดบ้าง กลัวจะไปใช้จ่ายเอื้อประโยชน์กิจการของเจ้าสัวบ้าง (ซึ่งเรื่องที่เอื้อประโยชน์จำนวนมากกลับไม่พูดถึง) อีกทั้งยังจะจ่ายสัปดาห์ละ 1,000 บาท ติดต่อกัน 7 สัปดาห์ กลัวว่าประชาชนจะใช้เงินหมดเร็ว ซึ่งคิดเหมือนประชาชนไม่มีปัญญาจะบริหารจัดการตัวเองได้ นอกจากนี้ แทนที่จะแจกประชาชนที่กำลังลำบากอย่างทั่วถึง กลับต้องให้ลงทะเบียนผ่านมือถืออีก โดยประชาชนจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ พอถูกถามเรื่องนี้ รัฐบาลกลับบอกว่าจะมีการติดต่อบริษัทให้มาจำหน่ายโทรศัพท์มือถือให้ในราคาพิเศษ ให้กับคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือสามารถซื้อเพื่อลงทะเบียนเข้าโครงการได้ ซึ่งต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อซื้อมือถือที่หลายคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจจะไม่มีความจำเป็นต้องใช้ และยังต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นแบบไม่สมเหตุสมผล โดยทั้งหมดนี้ ดูเหมือนรัฐบาลกำลังสับสน ทั้งที่คณะทำงานเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยได้เตือนรัฐบาลแล้วว่าให้คิดให้ดี คิดให้ครบกรอบ ก่อนที่จะออกมาตรการ อย่าทำแบบ “ทราบแล้วเปลี่ยน” ที่ต้องเปลี่ยนแปลงแนวทางหลายหนเพราะถูกตำหนิมาโดยตลอด แต่อย่างไรก็ดี เรื่องนี้อยากให้รัฐบาลเร่งเปลี่ยนแปลงเป็นการจ่ายเป็นเงินสด เพื่อให้ช่วยประชาชนได้ตรงตามความจำเป็นของประชาชนมากกว่า โดยที่รัฐบาลก็ต้องจ่ายเงินจำนวนนี้อยู่แล้ว ไม่เข้าใจใจว่าจะไปกำหนดให้ประชาชนยุ่งยากเพิ่มขึ้นทำไม กลายเป็นรัฐบาลที่แจกเงินประชาชนแต่กลับโดนประชาชนด่ามาตลอด นอกจากนี้ การที่รัฐบาลและ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการปล่อยกู้ช่วยเหลือ ธุรกิจ SMEs ให้สะดวกขึ้นง่ายขึ้น ในวงเงิน 5 แสนล้านบาท ที่ปล่อยไปได้เพียง แสนกว่าล้านบาทเท่านั้น แต่ยังมีธุรกิจ SMEs อีกเป็นจำนวนมากยังต้องการความช่วยเหลือ นับเป็นเรื่องที่ดี และอยากให้เร่งดำเนินการ และอยากให้มีการเพิ่มวงเงินช่วยเหลือธุรกิจ SMEs เพิ่มเติมหากจำเป็น โดยอยากให้รัฐบาลได้ปรึกษากับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการเปลี่ยนวงเงิน 4 แสนล้านเดิม ที่วางแผนจะซื้อพันธบัตรของเอกชน แต่ตอนนี้เชื่อว่าคงยกเลิกแผนการซื้อพันธบัตรของเอกชนนี้ไปแล้วเพราะถูกคนคัดค้านกันมาก ได้ปรับเปลี่ยนวงเงิน 4 แสนล้านบาทดังกล่าว มาเป็นการช่วยเหลือธุรกิจ SMEs แทน ซึ่งเชื่อว่าธุรกิจ SMEs จำนวนมากยังต้องการความช่วยเหลือ ที่จะประคองตัวให้ผ่านภาวะวิกฤตนี้ไปได้ และจะสามารถฟื้นกลับมาได้อีกครั้งหลังจากเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นกลับมาได้ ทั้งนี้ต้องเลือกด้วยว่าธุรกิจไหนสามารถจะฟื้นได้ โดยรัฐอาจจะต้องเข้าไปรับผิดชอบในหนี้เสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เชื่อว่าคงไม่มากนักหากเศรษฐกิจฟื้นกลับมา และ สามารถเลือกSMEs ที่จะไปรอดให้ดี นอกจากนี้รัฐบาลน่าจะต้องมีโครงการการรักษาการจ้างงานควบคู่กับการช่วยเหลือด้วย เพื่อป้องกันคนจะตกงานเป็นจำนวนมาก ในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เช่นนี้ โดยรัฐบาลอาจจะสนับสนุนการจ้างงานบางส่วน ในภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ทรุดหนักเช่นนี้ และยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นได้ รัฐบาลจะต้องเปิดใจรับฟังความเห็นทุกทางเพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขการบริหารประเทศของรัฐบาล อย่ามีอคติคิดว่าจะเป็นการตำหนิ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลต้องยอมรับก่อนว่าการบริหารของรัฐบาลล้มเหลวมาโดยตลอด กรอบคิดของรัฐบาลมีปัญหา หากมองย้อนหลังด้วยใจเป็นธรรม จะพบว่าทุกเรื่องที่ผมได้เตือนมาเป็นความจริงมาโดยตลอดและเป็นไปตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์ หากรัฐบาลจะเปิดใจรับฟังและนำไปปรับปรุงน่าจะช่วยได้มาก ซึ่งตอนนี้ก็ควรจะนึกได้แล้วเละควรฟังคำแนะนำของทุกฝ่ายมากขึ้น ก่อนประเทศจะย่ำแย่ไปกว่านี้
—
กรณี ครม. มีมติเห็นชอบโครงการ เราชนะ ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของวิกฤติ ด้วยการลดภาระค่าครองชีพ โดยสนับสนุนเงินช่วยเหลือให้แก่ประชาชน 31.1 ล้านราย วงเงินไม่เกิน 3,500 ต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.2567) โดยมีวงเงินดำเนินการทั้งสิ้น 2.1 แสนล้านบาท โดยประชาชนที่ได้รับสิทธิ์จะได้รับเป็นวงเงิน สำหรับใช้จ่ายกับร้านค้าและบริการที่เข้าร่วมโครงการ ไม่ได้รับเป็นเงินสด ทั้งนี้ การแจกเงิน 3,500 บาท จะต้องใช้จ่ายผ่านแอพฯ เป๋าตัง อย่างเดียวเท่านั้น เพราะต้องการสนับสนุนสังคมไร้เงินสด ส่วนคนไม่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เชื่อว่าจะเป็นส่วนน้อย แต่หากใครไม่มีก็ต้องขอรบกวน เพราะตอนนี้ราคาไม่แพงแล้ว ต่อเรื่องดังกล่าว น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคฝ่ายนโยบาย พรรคก้าวไกล แสดงความคิดเห็นว่า “ถ้าจะจ่ายเงินผ่านแอพ อย่าลืมแจกสมาร์ทโฟน และเน็ตฟรี” หลังจากที่รอเงินเยียวยากันมาหลายสัปดาห์ ในที่สุด ครม. ก็เคาะให้มีการจ่ายเงินเยียวยา โครงการ “เราชนะ” เดือนละ 3,500 บาท 2 เดือน รวมทั้งสิ้น 31 ล้านคน วงเงินรวม 210,000 ล้านบาท เริ่มจ่ายต้นเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป แน่นอนว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีมาตรการเยียวยาประชาชนออกมา ถึงมาช้า ก็ยังดีกว่าไม่มี แต่มาตรการที่ออกมาก็ยังมีปัญหา
โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข : วัดสวยช่วยสร้างสุข (ภาวะ) ได้อย่างไร
โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรสุขภาวะวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์
โครงการวิจัยที่มุ่งสร้างชุดความรู้และรูปแบบการสื่อสารเกี่ยวกับการพัฒนาสุขภาวะให้แก่หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) และเครือข่ายองค์กรสุขภาวะวิถีพุทธ ตลอดจนให้ความสำคัญกับการสนับสนุนกิจกรรมและการสร้างเครือข่ายการทำงานอย่างบูรณาการร่วมกันระหว่างคณะสงฆ์ หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน และภาคประชาสังคม
วีดีโอชุดนี้ เป็นการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ “โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข”
ในฐานะที่เป็นโครงการหนึ่งที่ขับเคลื่อนโดยคณะสงฆ์
ภายใต้พันธกิจ “วัดสวยด้วยความสุข”
โครงการดังกล่าวมีความโดดเด่นในเรื่องของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในรูปแบบที่เรียกว่า บวร
อีกทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาวะอย่างครอบคลุมในทุกมิติ
รูปแบบเนื้อหาเป็นการเล่าเรื่องผ่านพระสงฆ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการโดยได้รับความเมตตาจาก
พระธรรมรัตนาภรณ์ ในฐานะที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะอนุกรรมการโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข ท่านได้อธิบายให้เห็นเกี่ยวกับหลักการขับเคลื่อนโครงการในภาพรวม และชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาวัดนั้นมีส่วนสำคัญกับการพัฒนาสุขภาวะทางกาย จิตใจ ปัญญา และสังคมได้อย่างไร
พระครูนนทมงคลวิศิษฐ์ เจ้าอาวาสวัดอุทยาน จังหวัดนนทบุรี ในฐานะที่เป็นผู้นำโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข ไปปฏิบัติใช้ภายในวัดของตนเอง
และพระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา (คปพ.) ที่ได้อธิบายว่าโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข มีความสำคัญอย่างไร เหตุใดคณะสงฆ์จึงบรรจุให้อยู่ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา
ทั้งนี้ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรสุขภาวะวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ ได้จัดทำวีดีโอชุดนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจได้รับชม รับฟัง เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทการทำงานของคณะสงฆ์ภายใต้บริบทสังคมปัจจุบัน
ขับเคลื่อนโครงการโดยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่:
facebook:
website:
#หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล(อ.ป.ต.)
#การพัฒนาสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา
#สสส.
เงินสะพัด “ชิมช้อปใช้” หยุดยาวอาเซียนทะลุหมื่นล้าน
04/11/2019 เงินสะพัด “ชิมช้อปใช้” หยุดยาวอาเซียนทะลุหมื่นล้าน
Website :
YOUTUBE :
Facebook :
TWITTER :
instragram :
โครงการเงินช่วยเหลือรัฐบาลชิมช้อปใช้, ชิมช้อปใช้คนละครึ่งล่าสุด 2566/2023
โครงการชิมช้อปใช้คือ นโยบายของรัฐบาล เป็นโครงการประชารัฐ ซึ่งเป็นมาตรการที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการท่องเที่ยว เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และสนับสนุนให้มีการใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า g-Wallet ผ่านแอพเป๋าตังโดยจะให้มีการแจกเงินช่วยเหลือเป็นจำนวน 1,000 บาทต่อคน โดยให้ประชาชนที่ได้ทำการลงทะเบียน www.ชิมช้อบใช้.com เพื่อเปิดบัญชีออนไลน์ในการใช้ชิมช้อปใช้
โครงการเงินช่วยเหลือรัฐบาลการลงทะเบียนชิมช้อปใช้คนละครึ่ง ล่าสุด 2566/2023
คุณสมบัติผู้ลงทะเบียนชิมช้อปใช้ และชิมช้อปใช้คนละครึ่ง
- จะต้องเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทยและจะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อใช้ในการลงทะเบียน
- จะต้องมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ได้ทำการลงทะเบียน
- จะต้องมีอีเมลที่ใช้ได้ปกติ และจะต้องเป็นของตัวเอง รวมถึงจะต้องมีเบอร์มือถือ และสมาร์ทโฟนที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
การลงทะเบียนชิมช้อปใช้ เพื่อรับสิทธิ์
ให้ผู้สมัครสามารถจะลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ www.ชิมช้อบใช้.com โดยการกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เบอร์โทรศัพท์ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ชิมช้อปใช้ และให้เลือกจังหวัดที่ต้องการใช้สิทธิ์ แต่จะต้องเป็นจังหวัดที่ไม่ตรงกับจังหวัดในทะเบียนบ้านหรือไม่ตรงกับที่พักอาศัยปัจจุบัน
เมื่อทำการลงทะเบียนชิมช้อปใช้เรียบร้อยแล้ว จะได้รับ SMS ยืนยันการลงทะเบียนอีกครั้ง จากนั้นให้ทำการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน แอพเป๋าตัง เพื่อทำการยืนยันตัวตนโดยการ สแกนบัตรประจำตัวประชาชน กรอกข้อมูลตามที่ระบบแอปออนไลน์ต้องการ จากนั้นให้ถ่ายรูปหน้าตัวเอง และยืนยันเบอร์โทรศัพท์ด้วยรหัส OTP อีกครั้ง
โครงการชิมช้อปใช้คนละครึ่ง คืออะไร
โครงการชิมช้อปใช้คนละครึ่ง เป็นโครงการเงินช่วยเหลือรัฐบาลแบบเดียวกับชิมช้อปใช้ โดยจะมีเงินเข้าแอพเป๋าตัง แต่จะเป็นโครงการที่ช่วยออกให้ครึ่งเดียว โดยในครั้งนี้จะต้องทำการลงทะเบียนรับสิทธิที่เว็บไซต์คนละครึ่ง โดยคนที่ได้รับสิทธิ์จะต้องทำการยืนยันการรับสิทธิในแอพเป๋าตัง สำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในรอบแรกจะได้เงินช่วยเหลือเป็นจำนวน 3,000 บาท เข้าแอพ และไม่สามารถจะเบิกถอนออกมาเป็นเงินสดได้
การใช้สิทธิ์ชิมช้อปใช้คนละครึ่งล่าสุด
การใช้สิทธิ์จะแตกต่างจากชิมช้อปใช้ในครั้งแรก โดยสามารถจะใช้จ่ายผ่านแอพเป๋าตังได้ตามร้านค้าต่างๆที่ได้เข้าร่วมโครงการชิมช้อปใช้คนละครึ่ง โดยสามารถจะใช้จ่ายได้ 150 บาทต่อวัน หากใช้ไม่ครบ จะเก็บยอดเงินไปใช้ได้ในวันถัดไป โดยผู้ใช้สิทธิ์จะต้องออกเงินอีกครึ่ง และสำหรับโครงการในรอบแรกนี้จะได้ คนละ 3,000 บาท และในเฟสสองจะได้ 3,500 บาท สำหรับคนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการจะต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ที่เว็บไซต์เช่นกัน
และสำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิ์ชิมช้อปใช้คนละครึ่งในเฟสแรก จะได้เพิ่มอีก 500 บาทในเฟสสองนี้ แต่ไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่ม แค่จะต้องยืนยันการรับสิทธิ์อีกครั้งในแอพเป๋าตัง นอกจากนี้ทางรัฐบาลได้มีโครงการต่างๆมากมาย เช่น เราชนะ บัตรสวัสดิการของรัฐ เรารักกัน เป็นต้น