โครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์นครปฐม ประชารัฐ ภาคเอกชน ดร.สมัย



วัตถุประสงค์ของโครงการ

ข้อที่ 1 บริหารการจัดการเรื่องที่อยู่อาศัยของครู ในวัยทำงานและการวางแผนที่อยู่อาศัยหลังปลดเกษียณจากการประกอบอาชีพ

ข้อที่ 2 การวางแผนการดำรงชีพหลังวัยเกษียณ และนันทนาการของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในโครงการวางแผนที่อยู่อาศัยหลังวัยเกษียณ ซึ่งจัดเป็นโครงการ senior Complex ทั้งรูปแบบแนวราบและที่อยู่อาศัยในแนวดิ่งหรืออาคารชุด เป็นโครงการที่เหมาะสมในการวางแผนการอยู่อาศัยหลังวัยเกษียณ

ข้อที่ 3 การวางแผนภาระหนี้สินก็ผูกพันในการดำรงชีพของครูซึ่งมีภาระหนี้สินต่อสถาบันการเงิน และภาระหนี้สินของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูซึ่งตนเองเป็นสมาชิก อันเป็นปัญหาต่อการดำรงชีพของครูและภาระหนี้สินเหล่านั้นมีผลกระทบต่อการดำรงชีพหลังวัยเกษียณจากการทำงาน อันเป็นเหตุทำให้เกิดปัญหา ในครอบครัวตลอดจนเป็นภาระของสังคม
ปัญหาทั้ง 3 กรณีนี้ ถ้าเราจัดระบบการแก้ไขปัญหาทั้ง 3 แกงออกมาเป็นส่วนๆและมีวิธีการในการแก้ไขปัญหาพร้อมกับเสริมสร้าง ด้านจรรยาบรรณ และนันทนาการพร้อมด้วย เสริมสร้างอาชีพตลอดจนเสริมสร้างวัฒนธรรมใหม่รูปแบบใหม่ในการอยู่อาศัยในรูปแบบ senior Complex เพื่อสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแห่งการวางแผนแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยตลอดจนสังคม มีอาชีพเป็นข้าราชการครู จัดระเบียบการใช้เงิน ตลอดจนเสริมสร้างอาชีพให้กับครูหลังวัยเกษียณพร้อมทั้งส่งเสริมครูที่มีความสามารถประกอบอาชีพและทำงานร่วมกันในโครงการซีเนียร์คอมเพล็กซ์ ซึ่งสามารถพลิกแพลง จัดรูปแบบด้านเศรษฐกิจชุมชนหรือวิสาหกิจชุมชนในโครงการ senior Complex ตามวัตถุประสงค์การอยู่อาศัยร่วมกัน ได้เป็นอย่างดี

ในสภาวะปัจจุบันสมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูซึ่งมีสมาชิกสามัญประกอบอาชีพครูในแต่ละจังหวัดซึ่งมีจำนวนมาก อาชีพครูมีรายได้น้อย ไม่สอดคล้องกับรายจ่ายที่มีอยู่ในภาวะปัจจุบัน เป็นเหตุทำให้ครูจำนวนมาก ได้ก่อหนี้สินได้เป็นลูกหนี้สถาบันการเงินต่างๆ และเป็นลูกหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูประจำจังหวัดที่ตัวเองได้สังกัดอยู่นั้น มีจำนวนมาก ปัญหาที่สำคัญนี้ การก่อสร้างหนี้สินจากสมาชิกทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูในแต่ละแห่งมีความจำเป็นต้องกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศไทยเพิ่มพูนจำนวนมากในสถาบันการเงินในประเทศไทย อาทิเช่นธนาคารออมสิน ธนาคารธกสธนาคารกรุงไทยธนาคารกรุงเทพธนาคารกรุงศรีและสมาชิกยังได้มีมติกู้ยืมสหกรณ์รายใหญ่ ซึ่งเป็นสินเชื่อกู้ยืมระหว่างสหกรณ์ด้วยกันเองอาทิเช่น การกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สหกรณ์การไฟฟ้าภูมิภาค สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสงขลาสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยจุฬา สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตร กรเหล่านี้เป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ ในข้อบังคับของสหกรณ์ก่อนพระราชบัญญัติการจัดตั้งสหกรณ์ 2563 สหกรณ์ใหญ่สามารถปล่อยสินเชื่อให้กับสหกรณ์เล็กได้เป็นมติของกรมส่งเสริม ทำให้เกิดภาวะการกู้เงินการใช้เงินระหว่างสหกรณ์และสถาบันการเงินให้การสนับสนุนเงินกู้ เกิดภาวะหนี้เสียระหว่างลูกทำให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้ร่วมกันร่างกฎหมายสหกรณ์ฉบับปรับปรุงล่าสุด 2561 ทั้งหมดนี้คือปัญหาของต้นเหตุ เป็นมูลเหตุทำให้อัตราดอกเบี้ยที่คงค้างอยู่ สหกรณ์แต่ละสหกรณ์เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินและเป็นลูกหนี้ของสหกรณ์ขนาดใหญ่และมีอัตราดอกเบี้ย mlr จำนวนสูงต่อปี ทำให้เกิดภาวะการชำระหนี้ล่าช้าและการชะลอการชำระหนี้ตลอดจนการผิดนัดการชำระหนี้ของสหกรณ์มีผลกระทบไปถึงสมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์แต่ละ จังหวัดแต่ละส่วนแต่ละฝ่าย

เมื่อเราทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสหกรณ์ออมทรัพย์ครู

กระผม ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ในฐานะเป็นประธานโครงการซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภ่คเอกชน จึงได้ทำโครงการวางแผนการอยู่อาศัยและการแก้ไขภาระหนี้สิน ของครูและสมาชิกสหกร์ออมทรัพย์ครู ในประเทศไทย ด้วยวิธีการ 3 ประการที่กล่าวมานี้พร้อม ทั้ง รูปแบบและวิธีการในการแก้ไขปัญหาให้ครบวงจร…แนบท้ายมานี้